การแปลประโยคกรรมในภาษาไทยให้เป็นประโยค
Passive
การแปลประโยคกรรมในภาษาไทยให้เป็นประโยค Passive
ประโยคกรรมในภาษาไทยที่สามารถแปลเป็นประโยค passive voice ได้มีดังต่อไปนี้
1. ประโยคกรรม “ถูก” หรือ “โดน” เช่น
แดงถูกทำโทษเพราะเขาหนีเรียน
Dang was punished for cutting class.
2. ประโยคกรรม “ได้รับ” เช่น
ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับยกย่องมาก
This film was highly praised.
3. ประโยคกรรมความหมายเป็นกลาง ประธานเป็นสิ่งไม่มีชีวิต ไม่ได้กระทำกริยาด้วย ตนเอง แต่รับการกระทำจากผู้อื่น สิ่งอื่น ไม่มีคำว่า “ถูก” หรือ “ได้รับ” ปรากฏอยู่ เช่น
บ้านหลังนี้สร้างเมื่อ 2 ปีก่อน
This house was built two years ago.
หนังสือพิมพ์ขายหมดตั้งแต่เช้า
The newspapers have been sold out since morning.
4. ประโยคในภาษาไทยที่มีคำว่า “โดย” ปรากฏอยู่ เช่น
เพลงนี้ร้องโดยสันติ
This song was sung by Santi.
1. ประโยคกรรมเน้นความ ในรูปโครงสร้าง Object + Subject + Verb เช่น
ตามีผู้ใหญ่บ้านของเราเสือกินเสียแล้ว
Grandpa Mee, the head of our village, was eaten up by a tiger.
2. ประโยคที่ไม่เจาะจงผู้กระทำกริยาไว้อย่างชัดเจน มักขึ้นต้นประโยคโดยใช้คำว่า “มี” เช่น
มีการสกัดทองคำที่ห้องทดลองในมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย
Gold has been created in a California Laboratory.
3. ประโยคที่ประธานไม่บ่งชัดว่าเป็นผู้ใดกระทำ มักนิยมแปลโดยใช้ “it” เป็นประธาน และใช้กริยา passive เช่น
เชื่อกันว่าชาวจีนมีหัวทางการค้ามากกว่าคนไทย
It is believed that the Chinese are cleverer in business than the Thai.
วิธีแปล
การแปลประโยคกรรมในภาษาไทยให้เป็นประโยค passive ทำได้ง่ายกว่าการแปลประโยค passive มาเป็นประโยคกรรม เพราะประโยค passive มี 2 รูปแบบเท่านั้น คือ ชนิดมีตัวการ และชนิดไม่มีตัวการ (ดูรายละเอียดในบทที่ 4)
จากประสบการณ์การสอนแปล ผู้เขียนมักจะพบว่าในการแปลไทยเป็นอังกฤษ ผู้แปลที่เป็นนักศึกษาและมีความรู้เรื่องโครงสร้างจากไวยากรณ์ไม่ดีพอ มักจะแปลชนิดคำต่อคำโดยเฉพาะเมื่อพบประโยคภาษาไทยยาว ๆ จึงทำให้เมื่อแปลแล้วไม่เป็นประโยคภาษาอังกฤษที่ถูกต้อง เพราะโครงสร้างของภาษาอังกฤษและภาษาไทยมีความแตกต่างกันมากโดยภาษาอังกฤษจะเรียงประโยคในลักษณะ Word Order ดังนั้น ผู้เขียนจึงมักจะแนะนำนักศึกษาให้ทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. นึกถึงโครงสร้างของประโยค passive ในภาษาอังกฤษ ซึ่งมีผู้ถูกกระทำ (กรรม) เป็นประธานของประโยค และกริยาอยู่ในรูป passive คือ verb to be (ซึ่งผันไปตาม tense ต่าง ๆ) + past participle (กริยาช่องที่ 3)
Grammatical subject + verb to be + past participle
(กรรมที่ทำหน้าที่เป็นประธาน)
2. พิจารณาประโยคกรรมภาษาไทยโดยดูว่า ใครเป็นผู้ถูกกระทำหรือรับผลของการกระทำ อะไรเป็นกริยา (ควรใช้ tense อะไร) แล้วจึงแปลออกมา ดูต่อไปว่ามีตัวการอยู่ในประโยคด้วยหรือเปล่า
ตัวอย่างการวิเคราะห์ประโยคกรรมในภาษาไทย
1. สมศรีถูกสุนัขกัดเมื่อวานนี้
สมศรี = ผู้ถูกกระทำ
ถูกกัด = กริยา (ซึ่งควรอยู่ในรูปอดีตกาล เพราะเหตุการณ์เกิดขึ้นไปแล้ว)
สุนัข = ตัวการ
เมื่อวานนี้ = ส่วนขยายบอกเวลา (จะวางไว้หน้าประโยคหรือหลังประโยคก็ได้)
คำแปล Somsri was bitten by a dog yesterday.
2. ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับยกย่องมาก
ภาพยนตร์เรื่องนี้ = ตัวรับผลการกระทำ
ได้รับยกย่อง = กริยา
มาก = ส่วนขยายกริยา
คำแปล This film was highly praised.
3. บ้านหลังนี้สร้างเมื่อสองปีก่อน
บ้านหลังนี้ = ตัวรับผลการกระทำ
สร้าง = กริยา (กล่าวอย่างเป็นกลาง)
เมื่อสองปีก่อน = ส่วนขยาย บอกเวลา
คำแปล This house was built two years ago.
4. เชื่อกันว่าเขายังมีชีวิตอยู่
ประโยคนี้เป็นโครงสร้างซับซ้อนซึ่งมาจาก
เชื่อกันว่า + เขายังคงมีชีวิตอยู่
เชื่อกันว่า เป็นการพูดลอย ๆ โดยละประธานไว้ แต่เมื่อแปลเป็นภาษาอังกฤษต้องมีประธาน ในที่นี้เติมประธานที่ไร้ความหมาย (dummy subject) it เข้าไป
เชื่อ = กริยา อยู่ในรูปของ passive
คำแปล It is believed he is still alive.
แบบฝึกหัด
I. จงแปลประโยคกรรมเหล่านี้ให้เป็นประโยค passive ที่ถูกต้อง
1. บ้านหลังนี้กำลังซ่อม
2. เขาถูกฆ่าตาย
3. เพลงนี้ร้องง่าย
4. ห้องนี้ตกแต่งไว้อย่างสวยงาม
5. จดหมายส่งออกไปเมื่อวานนี้
6. หนังสือเล่มนี้แปลโดยสุดา
7. มีรายงานว่าเกิดน้ำท่วมในหลายจังหวัดทางภาคเหนือ
8. เชื่อกันว่าผักและผลไม้มีเส้นใยมาก
9. ลูกชายเศรษฐีถูกโจรเรียกค่าไถ่จับตัวไป
10. ภาพของครอบครัววางอยู่บนโต๊ะทำงาน
II. จงแปลประโยคกรรมเหล่านี้ให้เป็นประโยค passive ที่ถูกต้อง
1. เดากันว่าจะมีการสั่นสะเทือนตามหลังอีกหลายครั้งหลังจากแผ่นดินไหวครั้งใหญ่
2. ศูนย์กีฬาจะสร้างที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์วิทยาเขตรังสิต
3. น้ำมันดอกทานตะวันสกัดมาจากเมล็ดทานตะวัน
4. ในปัจจุบันเครื่องส่งโทรสารใช้กันมากในที่ทำงานที่ทันสมัยทุกแห่ง
5. กล่าวกันว่าความรักทำให้คนตาบอด
6. เขาได้เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้จัดการห้างสรรพสินค้า
7. ผู้หญิงคนนั้นถูกคนรักฆ่าตาย
8. สะพานนี้สร้างด้วยเงินของประชาชน
9. ไม้สักจำนวนมากถูกโค่นลง
10. แพไม้ไผ่ใช้เป็นที่พักของนักท่องเที่ยว
การเลือกใช้ Article
การเลือกใช้ Article
ในภาษาไทย คำนามแต่ละตัวที่ใช้ไม่มีคำประเภท Article (a, an, the) นำหน้าเหมือนกับคำนามในภาษาอังกฤษซึ่งถ้าเป็นนามนับได้จะต้องมี Article กำกับอยู่ ดังนั้น เมื่อผู้แปลแปลประโยคหรือข้อความจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษมักจะเกิดปัญหา คือ
· ลืมใส่ Article ข้างหน้านาม
· ไม่สามารถเลือกใช้ Article ได้ถูกต้อง การใช้ Article ผิด มีผลทำให้ความหมายผิดไปด้วย ตัวอย่างเช่น
He sold the car.
(เขาขายรถคันนั้นไปแล้ว – ผู้พูดและผู้ฟังเข้าใจกันดีว่าหมายถึงรถคันไหน)
He sold a car.
(เขาขายรถไปคันหนึ่ง เขามีรถหลายคันและเขาขายไปหนึ่งคัน ไม่ได้เจาะจงว่าเป็นคันไหน)
ทั้งสองประโยคถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ แต่ความหมายจะต่างกันมาก และความแตกต่างกันนั้นเกิดขึ้นเพราะการใช้ Article ที่แตกต่างกัน ในเรื่องของการแปลจากตัวอย่างประโยคสองประโยคข้างบน ถ้าตั้งใจจะหมายความว่า เขาขายรถไป คันหนึ่ง แล้วแปลเป็นภาษาอังกฤษว่า “He sold the car.” ความหมายในประโยคภาษาอังกฤษจะไม่ตรงกับความหมายในภาษาไทยทันที ดังนั้น จะเห็นว่าปัญหาในการแปลภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ สิ่งที่ก่อให้เกิดปัญหามากอย่างหนึ่งก็คือ เรื่องของการเลือกใช้ Article ให้ถูกต้องนั่นเอง
วิธีแปล
ผู้แปลควรพิจารณาเนื้อความของประโยคที่จะแปลอย่างรอบคอบเพื่อดูว่า คำนามในประโยคนั้นควรใช้ Article หรือไม่ เพราะคำนามในภาษาอังกฤษมี 2 ประเภท คือ คำนามประเภทนับได้ (Countable nouns) และคำนามประเภทนับไม่ได้ (Uncountable nouns) คำนามที่นับได้เมื่อใช้เป็นรูปเอกพจน์จะต้องมี Article (a, an หรือ the แล้วแต่กรณี) นำหน้าเสมอ ส่วนคำนามประเภทนับไม่ได้นั้นโดยปกติแล้วจะไม่ใส่ Article (มีข้อยกเว้น คือ นามบางคำจะเป็นได้ทั้ง Countable และ Uncountable nouns)
เรื่องของการใช้ Article ให้ถูกต้องนี้ เป็นเรื่องที่ยุ่งยากและซับซ้อน ผู้แปลควรจะต้องหาความชำนาญโดยการหัดสังเกต ถ้ายังไม่เข้าใจควรทบทวนหลักเกณฑ์การใช้และไม่ใช้ Article จากตำราไวยากรณ์เบื้องต้น
ตัวอย่างของการใช้และไม่ใช้ Article
1. เขาเป็นคริสเตียนที่ดี เขาไปโบสถ์ทุกวันอาทิตย์
He is a good Christian; he goes to church every Sunday.
(ละ Article หน้านาม church)
2. โบสถ์ที่เขาไปเป็นประจำอยู่ในเมือง
The church that he always goes to is in the city.
(ใส่ Article หน้านาม church)
3. พ่อของเขาไม่ทราบว่าเขาไม่ไปโรงเรียน
His father did not know that he had not been to school.
(ละ Article หน้านาม school)
4. โรงเรียนที่ฉันเคยเรียนปิดไปแล้ว
The school where I used to study was closed now.
(ใส่ Article หน้านาม school)
5. ข้าวผัดกุ้งอร่อยมาก
Shrimp fried rice is very delicious.
(rice เป็นคำนามนับไม่ได้ ไม่ต้องใส่ Article)
6. ฉันขอกาแฟไม่ใส่นม
I would like to have coffee without milk.
(ละ Article หน้านาม coffee และ milk เพราะเป็นคำนามที่นับไม่ได้ทั้ง 2 คำ)
7. ฉันชอบเดินทางโดยรถไฟมากกว่าเครื่องบิน
I prefer going by train to going by plane.
(สำนวนเกี่ยวกับการเดินทาง เช่น by plane / by train / by car, etc. ไม่ใส่ Article
หน้านาม)
8. คนซื่อสัตย์ควรได้รับยกย่องจากสังคม
The honest should be praised by society.
(ใส่ Article the หน้าคำคุณศัพท์ ทำให้กลายเป็นคำนาม the honest = the honest
people)
9. น้ำตาลทรายขาวไม่ดีต่อสุขภาพ
White sugar is not good for one’s health.
(ละ Article หน้านาม sugar เพราะเป็นคำนามที่นับไม่ได้)
10. เขาว่ากันว่าคนไทยขี้เกียจ
They said that Thai people are lazy.
(ละ Article หน้า Thai people เพราะเป็นนามพหูพจน์)
11. มีผมเส้นหนึ่งอยู่ในซุปของฉัน
There’s a hair in my soup.
(ผมหนึ่งเส้น เป็นนามนับได้ ใส่ Article ได้)
12. คุณมีผมยาวจัง
You’ve got very long hair.
(ละ Article หน้า hair เพราะในปริบทนี้ หมายถึง ผมทั้งศีรษะ ถือเป็นนามนับ
ไม่ได้)
13. คุณอยู่กับเราได้ มีห้องว่างห้องหนึ่ง
You can stay with us. There is a spare room.
(ใส่ Article เพราะห้องเป็นนามที่นับได้)
14. คุณนั่งตรงนี้ไม่ได้ ไม่มีที่ว่างแล้ว
You can’t sit here. There isn’t room.
(ละ Article หน้า room ซึ่งในปริบทนี้แปลว่า ที่ว่าง ถือเป็นนามที่นับไม่ได้)
15. ฉันซื้อหนังสือพิมพ์มาอ่านฉบับหนึ่ง
I bought a paper to read.
(paper ในปริบทนี้ หมายถึง newspaper เป็นนามนับได้ ใส่ Article ได้)
16. ฉันต้องการกระดาษเพื่อมาเขียนหนังสือ
I need some paper to write on.
(paper หมายถึง กระดาษ เป็นนามนับไม่ได้ ไม่ใส่ Article แต่ใช้กับคำประเภท
some หรือ any ได้)
17. คุณได้ยินเสียงอะไรตอนนี้ไหม
Did you hear a noise just now?
(ในปริบทนี้หมายถึง เสียง ที่เกิดขึ้นตอนนี้ = a particular noise ใส่ Article ได้)
18. ฉันทำงานที่นี่ไม่ได้หรอก เสียงดังมากไป
I can’t work here. There’s too much noise.
(noise ในปริบทนี้เป็นนามที่นับไม่ได้ ใส่ Article ไม่ได้)
19. ฉันรอไม่ได้ ฉันไม่มีเวลา
I can’t wait. I haven’t got time.
(ละ Article หน้า time ซึ่งแปลว่า เวลา เป็นนามที่นับไม่ได้)
20. เที่ยวให้สนุกนะ
Enjoy your holiday. Have a good time!
(Have a good time! เป็นสำนวน ซึ่งใช้ Article a โดยเฉพาะ)
แบบฝึกหัด
I. จงแปลประโยคเหล่านี้เป็นภาษาอังกฤษและเลือกใช้ Article ให้ถูกต้อง
1. เพื่อนบ้านฉันไปโบสถ์ทุกวันอาทิตย์
2. ผักที่ร้านนี้ไม่สด
3. ดอยอินทนนท์เป็นภูเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทย
4. ครูใหญ่โรงเรียนนี้เข้มงวดมาก
5. ไฟไหม้และทำลายคอนโดมิเนียมหมดทั้งหลัง
6. ทุกครั้งที่ไปซื้อของ นำกระเป๋าผ้าไปด้วยนะ
7. ทะเลอันดามันอยู่ตรงไหน
8. ช่วยกรุณาส่งจดหมายให้ฉันด้วย
9. กระดาษที่เธอให้ฉันไม่สกปรก
10. เสียงหัวเราะเป็นยาที่ไม่มีผลข้างเคียง
II. จงแปลประโยคเหล่านี้เป็นภาษาอังกฤษและเลือกใช้ Article ให้ถูกต้อง
1. เธอไม่รู้จักประเทศสหรัฐอเมริกา
2. หมอแนะนำให้เขาใช้น้ำมันพืชปรุงอาหาร
3. โรงเรียนที่เธอรักเก่ามากแล้ว
4. เวลาเป็นสิ่งที่มีค่า
5. ความรักนำมาซึ่งความเจ็บปวดและความสุข
6. อย่าใส่น้ำตาลในกาแฟมากขนาดนั้น
7. บ้านที่มุมถนนเป็นของเศรษฐีชรา
8. มหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยคือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
9. ฉากแรกของละครเรื่องนี้เกิดขึ้นในสวนของคฤหาสน์
10. ประเทศฟิลิปปินส์ประกอบด้วยเกาะใหญ่น้อยมากมาย
บทที่ 13 การแปลโดยเลือกคำให้เหมาะกับเนื้อความ
การแปลโดยเลือกคำให้เหมาะกับเนื้อความ
ปัญหาอีกอย่างหนึ่งที่พบมากในการแปลไทยเป็นอังกฤษ คือ การเลือกใช้คำผิด สาเหตุที่เลือกใช้คำผิดอาจจะเนื่องมาจากความคุ้นเคยกับศัพท์ที่ใช้มาแต่เดิม หรืออีกสาเหตุหนึ่งที่ผู้เขียนพบจากประสบการณ์ในการสอนแปล คือ การที่ผู้แปลซึ่งเป็นนักศึกษาใช้พจนานุกรมไทย-อังกฤษ ที่ให้คำศัพท์หลายคำที่มีความหมายตรงกับศัพท์ภาษาไทยแต่ ไม่ได้อธิบายหรือให้ตัวอย่างการใช้ที่ชัดเจนพอ เมื่อผู้แปลนำมาใช้โดยไม่ได้ค้นหา ความหมายให้ละเอียด จึงอาจทำให้เลือกคำที่ไม่ตรงกับความหมายที่แท้จริงของประโยคที่จะแปล ดังตัวอย่างเช่น
คำว่า “แนะนำ” ในภาษาไทย มีความหมายที่ตรงกับคำศัพท์ในภาษาอังกฤษ เช่น introduce / recommend / advise / suggest เป็นต้น
ในปริบทว่า “ที่งานเลี้ยงแห่งหนึ่ง เพื่อนของฉันแนะนำให้ฉันรู้จักกับ จินตหรา สุขพัฒน์”
ถ้าแปลโดยเลือกคำว่า ‘advise’
At a party, my friend advised me to Jintara Sukhaphat.
ความหมายของประโยคนี้จะไม่ถูกต้องเลยในภาษาอังกฤษเพราะ advise คือ แนะนำทั่ว ๆ ไป ให้ทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ แต่ในประโยคข้างต้น คำที่ควรเลือกมาใช้ คือ คำว่า “introduce” ซึ่งแปลว่า แนะนำให้รู้จัก ประโยคนี้จึงควรแปลว่า
At a party, my friend introduced me to Jintara Sukhaphat.
วิธีแปล
จากตัวอย่างที่ยกมานี้จะเห็นว่าภาษาแต่ละภาษามีจำนวนคำที่จะสื่อ ความหมายถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่เท่ากัน ทั้งนี้แล้วแต่ความจำเป็นในการใช้ตามลักษณะสังคมและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษานั้น ๆ สิ่งนี้เป็นข้อเท็จจริงที่ผู้แปลควรตระหนัก ดังนั้น ผู้แปลจึงต้องอ่านข้อความที่จะแปลอย่างละเอียดถี่ถ้วนและดูปริบทประกอบจึงจะเลือก
ความหมายที่ถูกต้องในแต่ละกรณีได้ ในเรื่องความหมายของคำนั้นนอกจากจะหมายถึง การรู้ความหมายของคำตามพจนานุกรมแล้ว ยังหมายถึง การรู้ความหมายโดยนัย (connotation) ของศัพท์คำ นั้น ๆ ด้วย จึงจะสามารถแปลออกมาได้ดีและถูกต้องเพื่อให้ผู้แปลได้ฝึกฝนการเลือกใช้คำให้ถูกต้อง จงดูตัวอย่างต่อไปนี้
เตือน
1. ฉันเตือนเขาแล้วให้ทบทวนบทเรียน
I already told him to review his lessons.
2. ช่วยเตือนฉันให้ปิดไฟด้วย
Please remind me to turn off the light.
3. เด็ก ๆ ถูกเตือนไม่ให้อมลูกอมสี ๆ
Children were warned not to eat colorful candies.
แนะนำ
1. ฉันอยากจะแนะนำให้เธอดูหนังเรื่อง ฟอเรสต์ กัมพ์
I would like to recommend you to see the movie “Forest Gump”.
2. บริษัทนี้เป็นบริษัทที่แนะนำและสั่งไวน์เข้ามาในเมืองไทย
This company is the first one to introduce and import wine in Thailand.
3. ฉันแนะนำให้เธอคิดอย่างรอบคอบก่อนที่จะตัดสินใจ
I advise you to think very carefully before making any decision.
4. ฉันแนะนำให้คุณไปเสียเดี๋ยวนี้
I suggest you leave now.
ปฏิเสธ
1. เขาไม่ได้รับหรือปฏิเสธข้อกล่าวหา
He did not confirm or deny the charge.
2. เขาเชื้อเชิญเธอไปงานเลี้ยงแต่เธอปฏิเสธ
He invited her to a party but she turned down (declined) his invitation.
3. ภรรยาต้องการให้เขาไปต่างจังหวัดด้วย แต่เขาปฏิเสธ
His wife wanted him to go upcountry with her, but he refused to go.
ไป / มา
1. เพื่อนของฉันมาเยี่ยมฉันที่บ้านเมื่อวานนี้
My friend came to see me at home yesterday.
2. ฉันจะไปลำปางอาทิตย์หน้า ไปกับฉันไหม
I will go to Lampang next week. Will you come with me?
3. คุณครูจะไปหาเธอที่บ้านพรุ่งนี้
The teacher will come and see her tomorrow.
4. ไปพบฉันที่ห้องนะ
Come to see me at my office.
ลาออก
1. พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 ทรงสละราชสมบัติ (ลาออก) ในปี ค.ศ. 1936.
King Edward VIII abdicated in 1936.
2. ฉันลาออกจากการเป็นประธาน
I resigned (my post) as chairman.
3. เขาถูกบริษัทให้ยื่นใบลาออก
He was given notice by the company.
เสีย
1. อย่าดื่มนมในขวดนั้น นมเสียแล้ว
Don’t drink milk in that bottle; it has turned sour.
2. ไข่ในตะกร้าเสียหมด
All the eggs in the basket were rotten.
3. ขนมปังบางก้อนเสีย
Some bread was stale.
4. เนยกับเบคอนนั่นเสีย กลิ่นพิกล
That butter and bacon are rancid; they smell unpleasant.
5. เพราะว่าเธอให้ลูกทุก ๆ อย่างที่พวกเขาต้องการ ลูก ๆ เธอจึงเสียเด็ก
Because she gave them everything that they wanted, her children were spoiled.
แบบฝึกหัด
I. จงแปลประโยคต่อไปนี้โดยเลือกใช้คำให้เหมาะกับเนื้อความ
1. ฉันไม่อยากพูดเลยว่าได้เตือนเธอแล้ว
2. อย่างน้อยที่สุดที่ฉันทำได้คือ เตือน พวกเขาว่ามีอันตรายรออยู่
3. หล่อนต้องเตือนเขาว่าเขามีภรรยาแล้ว
4. ภาพของเด็ก ๆ ที่หิวโหยเตือนให้เขานึกถึงความยากจนในวัยเด็ก
5. คุณจะกรุณาแนะนำสถานที่จะไปพักผ่อนช่วงวันหยุดสั้น ๆ ให้หน่อยได้ไหม
6. สมศรีแนะนำว่าการวิ่งเหยาะเป็นการออกกำลังกายที่ดีแบบหนึ่ง
7. สุธนแนะนำฉันไม่ให้จ่ายตลาดที่บางลำภู
8. นายของพวกเขาปฏิเสธที่จะมอบความรับผิดชอบใด ๆ ให้แก่พวกเขา
9. ทอมปฏิเสธเรื่องที่ว่าเขาทำผิดกฎหมายไม่ว่าเรื่องใด
10. เขาปฏิเสธความช่วยเหลือของเพื่อน
II. จงแปลประโยคต่อไปนี้โดยเลือกใช้คำให้เหมาะกับเนื้อความ
1. นมบูด (เสีย) มีรสชาติแปลก ๆ เพราะไม่สด
2. กลิ่นเหมือนไข่เน่า
3. ขนมปังเสียง่าย เมื่ออากาศร้อน
4. เด็กคนนั้นนิสัยเสียมาก
5. คุณจะต้องมากับเรา เราต้องการให้คุณไปกินอาหารกลางวันด้วย
6. เขาไปเดินเล่น
7. แม่ฉันมาเยี่ยมฉันเมื่อเดือนที่แล้ว
8. กษัตริย์ฝรั่งเศสองค์สุดท้าย คือ หลุยส์ ฟิลลิปส์ ผู้ทรงสละราชสมบัติ (ลาออก) ในปี 1848
9. คุณร็อบลาออกจากตำแหน่งเมื่อเดือนที่แล้ว
10. เขาลาออกจากการเป็นเด็กส่งเอกสาร
บทที่ 14 คำที่เป็นปัญหาในการแปล
คำที่เป็นปัญหาในการแปล
ในการแปลไทยเป็นอังกฤษนั้นมีคำศัพท์หลายคำซึ่งไม่ใช่คำที่ซับซ้อนอะไร แต่ ผู้แปลที่เป็นนักศึกษามักจะแปลผิดอยู่เสมอ ๆ ผู้เขียนได้รวบรวมคำศัพท์เหล่านี้ไว้เป็นตัวอย่างดังต่อไปนี้
ควรจะ / น่าจะ
คำสองคำนี้ก็ก่อให้เกิดปัญหากับผู้เรียนในการแปลไทยเป็นอังกฤษมาก คำสองคำนี้จะตรงกับคำว่า “should” และ “ought to” ในภาษาอังกฤษ แต่ผู้เรียนมักจะสับสนในการใช้คำสองคำนี้ เช่น ใช้เป็น should to ซึ่งทำให้เกิดความผิดทางด้านโครงสร้าง เช่น
1. เขาควรจะทบทวนบทเรียนบ้าง
มีผู้แปลว่า: He should to review his lessons.
ควรแปลว่า: He should review his lessons.
หรือ: He ought to review his lessons.
อีกประเด็นที่เป็นปัญหาในการใช้ should คือ การใช้เพื่อบอกถึงเหตุการณ์ที่ตรงข้ามกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในอดีต หรือการคาดคะเน ซึ่งในกรณีนี้ต้องใช้ should + have +กริยาช่องที่ 3
2. เขาน่าจะสอบได้ (แต่ความจริงเขาสอบตก)
He should have passed the exam, but he failed.
3. ฉันรู้ว่าฉันน่าจะมาแต่เช้า (แต่ความจริงฉันมาสาย)
I know that I should have come early.
เคย
คำว่า “เคย” นี้ ผู้เรียนมักจะแปลโดยใช้คำว่า “ever” ในขณะที่คำว่า “ไม่เคย” จะใช้คำว่า “never” ดังเช่นในประโยค
1. ฉันเคยไปดูหนังมากแต่เดี๋ยวนี้ไม่มีเวลาเลย
มีผู้แปลว่า: I ever go to the cinema a lot, but I never get the time now.
ควรแปลว่า: I used to go to the cinema a lot, but I never get the time now.
นอกจากนี้ผู้เรียนควรจำไว้ว่า คำว่า “used to” นั้น จะใช้บอกถึงการกระทำที่เคยทำโดยไม่จำกัดช่วงเวลา ถ้ามีกริยาวิเศษณ์ที่จำกัดเวลา เช่น once อยู่ในประโยค เราจะไม่ใช้ used to ในการแปลคำว่า “เคย” เช่น
2. ครั้งหนึ่งเขาเคยแต่งงานกัน
มีผู้แปลว่า: They used to married once.
ควรแปลว่า: They were once married.
ปัญหาที่เกี่ยวกับคำว่า “เคย” ที่ผู้สอนเคยพบอีกเรื่องหนึ่งก็คือ ผู้เรียนมักจะใช้ สับสนกับ to be used to / to get used to ซึ่งแปลว่า “เคยชิน” เช่น
3. เธออาศัยอยู่ในฟาร์ม ดังนั้น เธอจึงเคยชินกับการตื่นแต่เช้า
She lives on a farm, so she is used to getting up very early.
ประโยคข้างบนนี้จะแปลโดยใช้คำว่า “เคย”ไม่ได้ เพราะความหมายในประโยคภาษาอังกฤษจะผิดไปเลยจากต้นฉบับภาษาไทย
เพราะว่า / เนื่องมาจากว่า
คำในภาษาอังกฤษที่มีความหมายตรงกับภาษาไทยที่ผู้เรียนรู้จักและชอบนำมาใช้ในการแปล คือ คำว่า “because” แต่มักจะใช้ผิด คือ ใช้ because ขึ้นต้นประโยค และจบประโยคด้วยเครื่องหมายฟูลสต็อป ทั้ง ๆ ที่ในการใช้ที่ถูกต้อง because คือ คำที่ทำหน้าที่เชื่อมประโยคในประโยคชนิดซับซ้อน (Complex sentence) ดังตัวอย่างเช่น
1. เพราะว่าพ่อไม่อนุญาตให้เธอไปงานเลี้ยงคืนนี้ เธอจึงอารมณ์เสีย
มีผู้แปลว่า: Because her father won’t let her go to the party tonight. She’s in a bad
mood.
ควรแปลว่า: Because her father won’t let her go to the party tonight, she’s in a bad mood.
หรือสลับประโยคว่า
She’s in a bad mood because her father won’t let her go to the party tonight.
นอกจากคำว่า “because” แล้ว คำว่า “since” กับ “as” ก็สามารถใช้แทน “because” ได้ในประโยคนี้ เพราะ since / as ไม่ได้ใช้เป็นคำบอกเวลาอย่างเดียว แต่สามารถใช้บอกความเป็นเหตุเป็นผลได้เช่นเดียวกับ because เช่น
2. She’s in a bad mood since (as) her father won’t let her go to the party tonight.
ถ้าจะแปลประโยคนี้เป็นภาษาไทย อย่าไปยึดติดแปลคำว่า “since” หรือ “as” ว่า “ตั้งแต่” เท่านั้น
มีผู้แปลว่า: เธออารมณ์เสียตั้งแต่พ่อไม่อนุญาตให้เธอไปงานเลี้ยงคืนนี้
ควรแปลว่า: เธออารมณ์เสียเพราะพ่อไม่อนุญาตให้เธอไปงานเลี้ยงคืนนี้
มีคำง่าย ๆ เช่น “มี” ก็ก่อให้เกิดปัญหาในการแปลไม่น้อยทีเดียว ตัวอย่างเช่น
1. มีการตีกันหลายครั้งนอกสนามกีฬา แต่ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ
มีผู้แปลว่า: There were several fights happened outside the stadium, but no one was hurt.
ควรแปลว่า: There were several fights outside the stadium, but no one was hurt.
2. มีผู้โดยสารเพียง 12 คน จาก 140 คน ที่รอดชีวิตจากเครื่องบินตก
มีผู้แปลว่า: There were only 12 of the 140 passengers survived the plane crash.
ควรแปลว่า: Only 12 of the 140 passengers survived the plane crash.
3. บ้านหลังนี้มี 2 ห้องนอน
มีผู้แปลว่า: This house has two bedrooms.
ควรแปลว่า: There are two bedrooms in this house.
4. มีคนบอกฉันว่าพวกเขาแต่งงานกันแล้ว
มีผู้แปลว่า: There was someone telling me they got married.
ควรแปลว่า: Someone told me they got married.
จะสังเกตว่าในการแปลคำว่า “มี” นั้น ไม่จำเป็นต้องใช้ there + verb to be เสมอไป ดังเช่นในประโยคที่ 2 และ 4
ให้ยืม / ขอยืม
คำว่า “ยืม” มีทั้งให้ยืมและขอยืม แต่ผู้เรียนมักจะรู้จักแต่คำว่า “borrow” ซึ่งแปลว่า ขอยืม ส่วนคำว่า “lend” ซึ่งแปลว่า ให้ยืม นั้น มักจะไม่รู้จักและใช้ไม่เป็น ดังนั้น ผู้เรียนซึ่งมักจะแปลคำว่า “ยืม” ไม่ว่าจะให้ยืม หรือ ขอยืม โดยใช้แต่คำว่า “borrow” ดังตัวอย่างเช่น
1. คุณจะกรุณาให้ฉันยืมดินสอหน่อยได้ไหม
มีผู้แปลว่า: Would you mind borrowing me your pencil?
ควรแปลว่า: Would you mind lending me your pencil?
2. ธนาคารจะไม่ให้เธอยืมเงินไปซื้อรถแน่ ๆ
มีผู้แปลว่า: The bank wouldn’t borrow her the money to buy the car.
ควรแปลว่า: The bank wouldn’t lend her the money to buy the car.
ส่วนคำว่า “borrow” จะตรงกับความหมายภาษาไทยว่า ขอยืม เช่น
3. เธอต้องการยืมเงินเพื่อจ่ายค่าหมอ
She needs to borrow some money to pay the doctor.
แบบฝึกหัด
I. จงแปลประโยคเหล่านี้ให้ถูกต้อง
1. เพราะว่าเธอเป็นลูกคนสุดท้องพ่อแม่จึงรักมาก
2. เขาให้เงินเธอเพราะเธอยากจน
3. เธอชอบขอยืมเงินเพื่อนบ่อย ๆ
4. เพื่อน ๆ เธอไม่ให้เธอยืมเงินอีกแล้ว
5. เธอควรจะส่งการบ้านพรุ่งนี้เป็นอย่างช้า
6. เขาน่าจะไปทำงานแล้ว แต่เขายังดูทีวีอยู่เลย
7. ฉันเคยรู้จักคุณหรือเปล่า
8. เขาเคยชินกับการนอนตื่นสาย
9. มีคนมาหาคุณแน่ะ
10. มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นบ่อยครั้งที่สี่แยกนี้
II. จงแปลประโยคเหล่านี้ให้ถูกต้อง
1. คุณเคยไปเที่ยวภูเก็ตหรือเปล่า
2. แม่เคยบอกเขาว่า ให้ขยันดูหนังสือ
3. มีคนบอกฉันว่า เธอเป็นอดีตนางสาวไทย
4. มีเงินอยู่ในลิ้นชัก
5. เธอควรจะมาถึงบ้านแล้ว
6. ฉันไม่ชอบขอยืมเงินคนอื่น
7. ฉันยินดีให้เธอยืมหนังสือ
8. เขาไม่ได้มาโรงเรียนเพราะว่าเขาป่วย
9. ครูไม่ตำหนิเธอหรอกเพราะครูเข้าใจปัญหาของเธอ
10. เธอเคยชินกับการสวมกระโปรงยาว
บทที่ 15 การแปลที่จำเป็นต้องตรวจแก้
การแปลที่จำเป็นต้องตรวจแก้
ในการเรียนการสอนแปลนั้นแม้ผู้เรียนจะรู้หลักหรือทฤษฎีแล้ว แต่เมื่อแปลออกมาแล้วก็ยังมีข้อผิดพลาดที่จำเป็นต้องตรวจแก้ ในการตรวจแก้และให้เฉพาะคำแปลที่ถูกต้องนั้นยังไม่เพียงพอในความคิดของผู้เขียน ถ้าจะให้ดียิ่งขึ้นผู้เขียนคิดว่าควรจะต้องมีการตั้งข้อสังเกตและวิเคราะห์ข้อผิดพลาดในงานแปลนั้นให้ผู้เรียนทราบด้วยว่ามี ผิด ถูก อย่างไร แล้วจึงบอกให้ทราบถึงคำแปลที่ถูกต้องประกอบไปด้วย
ตัวอย่างงานแปลที่จำเป็นต้องตรวจแก้ในบทนี้ ผู้เขียนได้รวบรวมมาจากงานแปลของนักศึกษาเพื่อเป็นแนวทางให้เห็นข้อบกพร่องต่าง ๆ และวิธีการแปลที่เหมาะสม
ตัวอย่างการแปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย
1. Only three people were promoted, namely Sompong Jaidee, Suda Rukdee, and Mai Rukmoo.
มีผู้แปลว่า: คนสามคนถูกแต่งตั้ง คือ สมพงษ์ ใจดี สุดา รักดี และ ใหม่ รักหมู่
ข้อสังเกต: ผู้แปลมักจะแปลประโยค passive voice ออกมาเป็นประโยคกรรม “ถูกกระทำ” ซึ่งมีคำว่า “ถูก” หรือ “โดน” ทั้ง ๆ ที่ความหมายของประโยค passive voice นี้ เป็นไปในทางบวกหรือด้านดี
ควรแปลว่า: มีเพียงสามคนเท่านั้นที่ได้เลื่อนตำแหน่ง คือ สมพงษ์ ใจดี สุดา รักดี และ ใหม่ รักหมู่
2. The man who was bitten by a snake was given a serum.
มีผู้แปลว่า: ผู้ชายที่ถูกงูกัดได้รับพิษงู
ข้อสังเกต: ผู้แปลไม่เข้าใจความหมายของคำว่า “serum” ส่วน passive voice (was bitten) แปลโดยใช้คำว่า “ถูก” หรือ “โดน” นั้น ถูกต้องแล้ว เพราะ passive voice ในประโยคนี้มีความหมายในเชิงลบ
ควรแปลว่า: ผู้ชายที่ถูกงูกัดได้รับยาฉีดแก้พิษงู
3. Most of the people invited to the party didn’t turn up.
มีผู้แปลว่า: คนส่วนใหญ่ไปงานปาร์ตี้ไม่ได้กลับมา
ข้อสังเกต: ผู้แปลไม่เข้าใจโครงสร้างประโยค passive voice ชนิดลดรูป ซึ่งในประโยคนี้มีความหมายในเชิงบวก คือ ได้รับเชิญ อีกทั้งผู้แปลไม่รู้ความหมายของสำนวน turn up และยังแปลทับศัพท์คำว่า “party” อีกด้วย
ควรแปลว่า: ผู้ได้รับเชิญมางานเลี้ยงส่วนใหญ่ไม่มาปรากฏตัว
4. It was annoying not being able to remember his address.
มีผู้แปลว่า: มันน่ารำคาญที่ไม่สามารถจำบ้านเลขที่ของเขาได้
ข้อสังเกต: ผู้แปลมักแปลสรรพนาม it ซึ่งในที่นี้ทำหน้าที่เป็น Impersonal pronoun และ dummy subject ไม่จำเป็นต้องแปลคำว่า “it” ว่า “มัน” ในทุกที่เสมอไป
ควรแปลว่า: เป็นเรื่องน่ารำคาญที่จำบ้านเลขที่ของเขาไม่ได้
5. What you have written is not suitable for publication.
มีผู้แปลว่า: คุณเขียนอะไรที่ไม่เหมาะสมสำหรับสาธารณะ
ข้อสังเกต: ผู้แปลไม่ทราบความหมายของ Indefinite pronoun “what” ซึ่งอาจแปลว่า สิ่ง เรื่อง แล้วแต่ปริบท นอกจากนี้ผู้แปลเข้าใจผิดว่า “publication” เป็นคำเดียวกับ “public” จึงให้ความหมายที่ผิดมา
ควรแปลว่า: สิ่งที่คุณเขียนไม่เหมาะที่จะตีพิมพ์
6. By the end of this year, Sally will have been teaching English for twenty years.
มีผู้แปลว่า: เมื่อถึงสิ้นปี แซลลีได้สอนภาษาอังกฤษมายี่สิบปี
ข้อสังเกต: ผู้แปลยังไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ tense ในภาษาอังกฤษดีพอ จึงแปล future perfect tense ได้ไม่กระชับรัดกุมพอ
ควรแปลว่า: พอถึงสิ้นปี แซลลีก็สอนภาษาอังกฤษมาได้ยี่สิบปี
7. Warunee has just completed a new motion picture, which will open at the Grand Cinema.
มีผู้แปลว่า: วารุณีได้เสร็จสิ้นการแสดงภาพเคลื่อนไหวซึ่งจะเปิดการแสดงที่โรงหนัง
แกรนด์
ข้อสังเกต: ผู้แปลไม่เข้าใจความหมายของ present perfect tense และไม่รู้ความหมายของศัพท์ “motion picture”
ควรแปลว่า: วารุณีเพิ่งเสร็จการแสดงภาพยนตร์เรื่องใหม่ที่จะฉายที่โรงหนังแกรนด์
8. Please give me a ring when you arrive and I will pick you up.
มีผู้แปลว่า: โปรดให้แหวนฉัน เมื่อคุณมาถึงแล้วฉันจะไปหาคุณ
ข้อสังเกต: ผู้แปลไม่เข้าใจสำนวน to give (someone) a ring
ควรแปลว่า: โปรดโทรศัพท์ถึงฉันเมื่อคุณมาถึง แล้วฉันจะไปรับ
9. My friend wanted to fire her maid since she was disobedient.
มีผู้แปลว่า: เพื่อนของฉันต้องการจุดไฟเผาคนใช้เพราะเขาไม่เชื่อฟัง
ข้อสังเกต: ผู้แปลไม่มีความรู้เกี่ยวกับศัพท์ to fire ศัพท์นี้มีความหมายหลายนัย
ควรแปลว่า: เพื่อนของฉันต้องการไล่คนใช้ออกเพราะเจ้าหล่อนไม่เชื่อฟัง
10. The bandit deprived him of his money.
มีผู้แปลว่า: บัณฑิตได้พรากเงินไปจากเขา
ข้อสังเกต: ผู้แปลสับสนศัพท์ “bandit” โดยคิดว่าตรงกับคำว่า “บัณฑิต” ในภาษาไทย ประกอบกับไม่ทราบความหมายของคำว่า “deprive of”
ควรแปลว่า: โจร / ผู้ร้ายขโมยเงินของเขา
11. Information is collected before a decision is made.
มีผู้แปลว่า: ข้อมูลถูกเก็บรวบรวมก่อนการตัดสินใจที่จะทำ
ข้อสังเกต: ผู้แปลแปลประโยค passive โดยใช้คำว่า “ถูก” ซึ่งบอกความหมายในเชิงไม่ดี แต่ประโยคนี้เป็นประโยคกรรม ความหมายเป็นกลาง อาจแปลโดยการเติมคำว่า “มี”
ควรแปลว่า: มีการเก็บรวบรวมข้อมูลก่อนทำการตัดสินใจ
12. The West’s diseases have been closely linked to the consumption of meat and
dairy products.
มีผู้แปลว่า: เชื้อโรคของประเทศทางตะวันตกติดต่ออย่างใกล้ชิดกับผู้บริโภคเนื้อวัว และ
ของใช้ประจำวัน
ข้อสังเกต: ผู้แปลไม่รู้ความหมายของศัพท์คำว่า “disease” และ meat / dairy products จึงแปลผิด
ควรแปลว่า: โรคภัยไข้เจ็บทั้งหลายของชาวตะวันตกเกี่ยวโยงอย่างใกล้ชิดกับการบริโภคผลิตภัณฑ์ประเภทเนื้อและนม
13. They are generous although they are poor.
มีผู้แปลว่า: พวกเขาฉลาดแต่ถึงกระนั้นพวกเขาก็ยังจน
ข้อสังเกต: ผู้แปลไม่เข้าใจความหมายของคำเชื่อม although ที่ใช้เพื่อแสดงความหมายที่ขัดแย้งกัน
ควรแปลว่า: พวกเขาใจคอกว้างขวางแม้ว่าจะยากจนก็ตาม
14. One should perform one’s duty as well as he can.
มีผู้แปลว่า: บางคนจะทำงานของเขาให้ดีเท่าที่เขาสามารถทำได้
ข้อสังเกต: ผู้แปลแปลคำว่า “one” ซึ่งเป็น Indefinite pronoun ไม่เหมาะสมตามปริบท
ควรแปลว่า: คนเราควรจะทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้
15. You have to wait until the others come back.
มีผู้แปลว่า: คุณต้องรออยู่จนกว่าจะมีใครกลับมา
ข้อสังเกต: ผู้แปลแปลคำว่า “the others” ซึ่งเป็น Indefinite pronoun ไม่ถูกต้องตาม ปริบท
ควรแปลว่า: คุณต้องรออยู่จนกว่าคนอื่น ๆ จะกลับมา
16. Thailand’s economy is in a critical state.
มีผู้แปลว่า: เศรษฐกิจของประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงสำคัญ
ข้อสังเกต: ผู้แปลแปลความหมายของคำว่า “critical” ไม่เหมาะสมตามปริบท
ควรแปลว่า: เศรษฐกิจของประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงวิกฤติ
17. If I have a car, I can pick you up at the airport.
มีผู้แปลว่า: ถ้าฉันมีรถ ฉันสามารถไปส่งคุณที่สนามบินได้
ข้อสังเกต: ผู้แปลไม่รู้ความหมายของ phrasal verb “pick up”
ควรแปลว่า: ถ้าฉันมีรถ ฉันก็ไปรับคุณที่สนามบินได้
18. Eventhough the British and the Americans speak the same language, they can sometimes misunderstand one another.
มีผู้แปลว่า: ถึงแม้ว่าคนอังกฤษและคนอเมริกันพูดภาษาเหมือนกัน บางครั้งเขาสามารถที่จะเข้าใจกันผิดได้เหมือนกัน
ข้อสังเกต: ผู้แปลแปลคำว่า “same” โดยเลือกใช้คำไม่เหมาะสมกับเนื้อความ
ควรแปลว่า: ถึงแม้ว่าคนอังกฤษและคนอเมริกันจะพูดภาษาเดียวกัน บางครั้งเขาก็ยังเข้าใจ
ผิดกันได้
19. It will take me quite some time to get him interested in buying your land.
มีผู้แปลว่า: มันต้องใช้เวลาสำหรับฉันในการที่จะทำให้เขาสนใจที่จะซื้อที่ดินของคุณ
ข้อสังเกต: ผู้แปลแปลสรรพนาม “it” ซึ่งเป็นประธานที่ไร้ความหมายว่า “มัน” ซึ่งไม่จำเป็น ตัดทิ้งไปเลยไม่ต้องแปล
ควรแปลว่า: ฉันคงต้องใช้เวลามากทีเดียวที่จะทำให้เขาสนใจซื้อที่ดินของเธอ
20. She felt as if she were in heaven when she got a great compliment from her
parents.
มีผู้แปลว่า: เธอรู้สึกเหมือนกับว่าเธอได้อยู่ในสวรรค์เมื่อเธอได้รับคำเยินยออันมากอัน
หนึ่งจากผู้ปกครองของเธอ
ข้อสังเกต: เป็นการแปลที่ใช้คำเยิ่นยอและเลือกใช้คำไม่เหมาะกับเนื้อความ
ควรแปลว่า: เธอรู้สึกราวกับอยู่บนสวรรค์เมื่อเธอได้รับคำชมเชยจากบิดามารดา
21. Though I hate crowded places, I have to work in Bangkok.
มีผู้แปลว่า: ฉันเกลียดที่ ๆ มีฝูงชน แต่ฉันก็ต้องทำงานในกรุงเทพฯ
ข้อสังเกต: ผู้แปลไม่แปลคำโยงความให้ชัดเจน ถูกต้อง ข้อความจึงไม่ต่อเนื่องกัน
ควรแปลว่า: แม้ว่าฉันจะไม่ชอบสถานที่แออัด ฉันก็จำต้องทำงานอยู่ในกรุงเทพฯ อยู่ดี
22. Exhausted by long hours of work, he decided to go to bed early.
มีผู้แปลว่า: เหน็ดเหนื่อยในการทำงานหลายชั่วโมง เขาตัดสินใจไปนอนเร็ว ๆ
ข้อสังเกต: วลีที่ทำหน้าที่เป็น participle phrase ที่ขยายประธานที่ตามมาข้างหลัง เมื่อ
แปลเป็นภาษาไทยขึ้นควรต้นประโยคด้วยประธานก่อน ความหมายจึงจะ ชัดเจน
ควรแปลว่า: เขารู้สึกเหน็ดเหนื่อยเนื่องจากทำงานมาหลายชั่วโมงเขาจึงตัดสินใจเข้านอน
หัวค่ำ
23. The accused man said in court he wished to withdraw his confession
มีผู้แปลว่า: ชายที่กล่าวหากล่าวในศาลว่าเขาต้องการเลิกคำสารภาพ
ข้อสังเกต: accused เป็น verb ช่องที่ 3 ซึ่งมาจาก passive voice ลดรูป และวางไว้หน้าประธานเพื่อทำหน้าที่ขยายเวลา เวลาแปล จึงควรแปลเหมือน passive voice
ควรแปลว่า: ชายที่ถูกกล่าวหาแถลงต่อศาลว่าเขาต้องการเพิกถอนคำสารภาพ
24. Spoiled by his parents as a child, he grew up to be a discontented young man.
มีผู้แปลว่า: ถูกตามใจจากพ่อแม่มาตั้งแต่เด็ก เขาจึงโตเป็นชายหนุ่มที่ไม่พอใจอะไร
ข้อสังเกต: คล้ายกับข้อ 22 วลีที่ทำหน้าที่เป็น participle phrase ขยายประธานซึ่งตามมา
ควรแปลว่า: เขาถูกพ่อแม่ตามใจมาตั้งแต่เด็ก เมื่อโตขึ้นจึงกลายเป็นชายหนุ่มที่ไม่เคย
พอใจอะไรเลย
25. The exam is going to be difficult.
มีผู้แปลว่า: ข้อสอบกำลังจะยาก
ข้อสังเกต: to be going to ในปริบทนี้มีความหมายเหมือนกับ seems to
ควรแปลว่า: ข้อสอบนี้ท่าทางจะยาก
ตัวอย่างการแปลจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษที่ต้องแก้ไข
1. ที่งานเลี้ยงแห่งหนึ่งฉันได้รับการแนะนำให้รู้จักกับ จินตหรา สุขพัฒน์
มีผู้แปลว่า: At a party, I was suggested Jintahra Sukhaphat.
ข้อสังเกต: ผู้แปลขาดความรู้ในการเลือกใช้คำศัพท์ให้เหมาะกับเนื้อความ
ควรแปลว่า: At a party, I was introduced to Jintahra Sukhaphat.
2. เขาให้แหวนวงสวยแก่ฉันเมื่อวานนี้
มีผู้แปลว่า: He had given me a beautiful ring yesterday.
ข้อสังเกต: ผู้แปลใช้ tense ไม่ถูกต้อง ควรเป็นอดีตกาลธรรมดา
ควรแปลว่า: He gave me a beautiful ring yesterday.
3. บริกร: คุณจะรับอะไรเป็นอาหารเช้าครับ
ลูกค้า: ผมขอเบคอนและไข่ 1 ที่ครับ
มีผู้แปลว่า: What do you want for a breakfast?
I want to have one bacon and egg.
ข้อสังเกต: ผู้แปลขาดความรู้เกี่ยวกับสำนวนที่ใช้ในการสั่งอาหารและใช้ Article ไม่ถูกต้อง
ควรแปลว่า: What would you like for breakfast?
I’d like to have bacon and eggs.
4. ถนนสายนี้ถูกปิดตั้งแต่เมื่อวาน
มีผู้แปลว่า: This street had closed since yesterday.
ข้อสังเกต: ผู้แปลไม่ได้แปลประโยคนี้ให้อยู่ในรูปประโยค passive
ควรแปลว่า: This road has been closed since yesterday.
5. มีการพูดกันว่าเขารับสินบน
มีผู้แปลว่า: It is said that he is corruption.
ข้อสังเกต: ผู้แปลแปลคำว่า “รับสินบน” ไม่ถูกต้อง เข้าใจสับสนว่า “สินบน” หมายถึง corruption
ควรแปลว่า: It is said that he is corrupt.
takes bribes.
6. ฉันชอบเค้กชอกโกเลต
มีผู้แปลว่า: I like cake chocolate.
ข้อสังเกต: ผู้แปลไม่เข้าใจโครงสร้างประโยคภาษาอังกฤษ ซึ่งต้องวางคำขยายไว้หน้านามสำคัญ ในที่นี้นามสำคัญคือคำว่า “เค้ก” ไม่ใช่ “ชอกโกเลต”
ควรแปลว่า: I like chocolate cake.
7. พ่อของเขาไม่ทราบว่าเขาไม่ได้ไปโรงเรียน
มีผู้แปลว่า: His father did not know that he had not been to the school.
ข้อสังเกต: ผู้แปลไม่เข้าใจเรื่องการใช้ Article สำนวน go to school ไม่ใช้ Article ใด ๆ หน้าคำนาม school
ควรแปลว่า: His father had no idea that he did not go to school.
8. การเดินทางโดยเครื่องบินสะดวกดี
มีผู้แปลว่า: Traveling by a plane is comfortable.
ข้อสังเกต: เช่นเดียวกับข้อ 7 ผู้แปลไม่ทราบว่าสำนวนที่เกี่ยวกับการเดินทางทั้งหลาย ไม่ต้องใส่ Article หน้าคำนาม
ควรแปลว่า: Traveling by plane is comfortable.
9. บางทีคุณอาจจะแนะนำทนายดี ๆ ให้ฉันสักคน
มีผู้แปลว่า: Perhaps you could advise me a good lawyer.
ข้อสังเกต: ผู้แปลเลือกใช้คำที่ไม่เหมาะสมกับเนื้อความ “advise” คือ การแนะนำให้ทำสิ่งสิ่งนี้ ซึ่งไม่เหมาะกับปริบทในประโยคนี้
ควรแปลว่า: Perhaps you could recommend me a good lawyer.
10. เลขาเตือนเขาเรื่องการนัดหมายในตอนเย็น
มีผู้แปลว่า: His secretary warned him about his appointment in the evening.
ข้อสังเกต: ผู้แปลเลือกใช้คำที่ไม่เหมาะกับเนื้อความ “warn” คือ เตือนเกี่ยวกับภัย/ อันตราย ซึ่งไม่ถูกต้องตามปริบทนี้
ควรแปลว่า: His secretary reminded him of his appointment in the evening.
11. เธอปฏิเสธที่จะรับเงินเขา
มีผู้แปลว่า: She denied to accept his money.
ข้อสังเกต: ผู้แปลเลือกใช้คำที่ไม่ถูกต้องตามปริบท “deny” คือ การปฏิเสธข้อเท็จจริง
ควรแปลว่า: She refused to accept his money.
12. ชาและกาแฟไม่ดีต่อสุขภาพนัก
มีผู้แปลว่า: The coffee and tea are not quite good.
ข้อสังเกต: coffee และ tea เป็นนามที่นับไม่ได้ ไม่จำเป็นต้องใส่ Article นอกจากนั้น ผู้แปลยังแปลไม่ครบถ้วน
ควรแปลว่า: Coffee and tea are not really good for your health.
13. แม่น้ำเจ้าพระยาใกล้จะเน่าเสีย
มีผู้แปลว่า: Chao Phya river is nearly spoiled.
ข้อสังเกต: แม่น้ำเจ้าพระยาต้องใช้ควบคู่กับ Article “the” นอกจากนั้นคำว่า “เน่าเสีย” นี้ ไม่ตรงกับนัยความหมายของคำว่า “spoiled” ซึ่งหมายถึง “ถูกทำให้เสียคน” หรือ “ตามใจจนเสียคน”
ควรแปลว่า: The Chao Phya river is nearly polluted.
14. กระทะถูกทิ้งไว้ในอ่างล้างชาม
มีผู้แปลว่า: The pan left in the sink.
ข้อสังเกต: ผู้แปลไม่ได้แปลให้เป็นประโยค passive voice
ควรแปลว่า: The pan was left in the sink.
15. วัดนี้สร้างในสมัยต้นรัตนโกสินทร์
มีผู้แปลว่า: This temple built early in the Rattanakosin period.
ข้อสังเกต: เช่นเดียวกับประโยคที่ 14 ผู้แปลไม่ทราบว่าประโยคนี้ คือ ประโยคกรรม ความหมายเป็นกลางซึ่งเมื่อแปลเป็นภาษาอังกฤษต้องใช้ประโยค passive
ควรแปลว่า: This temple was built early in the Rattanakosin period.
16. เขาสนใจการเมืองมาตั้งแต่เขายังเด็ก
มีผู้แปลว่า: He was interested in politics since he was a child.
ข้อสังเกต: ผู้แปลใช้ tense ไม่ถูกต้อง ถ้าใช้ was interested แปลว่า เคยสนใจในอดีต แต่บัดนี้เลิกสนใจแล้ว แต่ในปริบทนี้หมายความว่า เขาสนใจการเมืองมาตั้งแต่เขายังเด็ก และเดี๋ยวนี้ก็ยังสนใจอยู่
ควรแปลว่า: He has been interested in politics since he was a child.
17. ไปเดินเล่นกันเถอะ อากาศดีมาก
มีผู้แปลว่า: Let’s go for a walk; the climate is fine.
ข้อสังเกต: ผู้แปลเลือกใช้คำผิด “climate” คือ สภาพอากาศเฉพาะที่ แต่ในที่นี้พูดถึงสภาพอากาศทั่ว ๆ ไป
ควรแปลว่า: Let’s go for a walk; the weather is fine.
18. เขาไปทำงานแถวตะวันออกกลาง
มีผู้แปลว่า: He has gone to work in Middle East.
ข้อสังเกต: ผู้แปลใช้ Article ไม่ถูกต้อง นามคำว่า “Middle East” ต้องใช้กับ Article “the”
ควรแปลว่า: He has gone to work in the Middle East.
19. ที่อังกฤษวัวจำนวนมากถูกฆ่าเพราะโรควัวบ้า
มีผู้แปลว่า: In English, cows were killed because the mad cow disease.
ข้อสังเกต: อังกฤษในประโยคนี้ คือ ประเทศ English หมายถึง คนหรือภาษา ผู้แปลใช้คำไม่ถูกต้องและใช้คำเชื่อม because ไม่ถูกต้อง because ต้องใช้เชื่อมประโยค ไม่ใช่เชื่อมคำหรือวลี
ควรแปลว่า: In England, many cows were killed because of the mad cow disease.
20. เขาแนะนำให้ฉันรู้จักนายของเขา
มีผู้แปลว่า: He suggested me to know his boss.
ข้อสังเกต: ผู้แปลใช้คำไม่เหมาะกับเนื้อความ แนะนำให้รู้จัก ควรใช้คำว่า “introduce”
ควรแปลว่า: He introduced me to his boss.
21. เขาน่าจะเปลี่ยนใจก่อนจะสายเกินไป
มีผู้แปลว่า: He should to change his mind before it is too late.
ข้อสังเกต: ผู้แปลสับสนระหว่างคำว่า should + verb กับ ought to + verb
ควรแปลว่า: He should change his mind before it is too late.
22. มีอุบัติเหตุรถชนกันที่ตรงนี้เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว
มีผู้แปลว่า: There was a car accident occurred here last week.
ข้อสังเกต: ไม่จำเป็นต้องใช้ สำนวน there was ในการแปลประโยคนี้
ควรแปลว่า: A car accident occurred here last week.
23. ฉันเคยตื่นนอนตอน 6 โมงครึ่ง แต่เดี๋ยวนี้ฉันตื่นสายกว่านั้น
มีผู้แปลว่า: I got up at 6.30 p.m., but now I get up later.
ข้อสังเกต: used to ใช้ในความหมายว่า เคยทำสิ่งนั้นในอดีต (past habit) แต่ปัจจุบันไม่ได้ทำอีกแล้ว
ควรแปลว่า: I used to get up at 6.30 p.m., but now I get up later.
24. พ่อแม่ควรจะเป็นแบบอย่างที่ดีของลูก
มีผู้แปลว่า: Parents are good models for their children.
ข้อสังเกต: ผู้แปลไม่ได้แปลคำว่า “ควรจะ”
ควรแปลว่า: Parents should be good role models for their children.
25. งูหางกระดิ่งจะเตือนเหยื่อก่อนที่มันจะกัด
มีผู้แปลว่า: A snake tells before it bites.
ข้อสังเกต: ผู้แปลใช้คำว่า “tell” ในการแปลว่า เตือน คำว่า “tell” คือ การบอกกล่าวธรรมดา ซึ่งไม่ตรงตามปริบทนี้ ซึ่งหมายถึง เตือน ภัยอันตราย
ควรแปลว่า: A rattlesnake warns its victim before it strikes.
การแปลประโยคกรรมในภาษาไทยให้เป็นประโยค Passive
ประโยคกรรมในภาษาไทยที่สามารถแปลเป็นประโยค passive voice ได้มีดังต่อไปนี้
1. ประโยคกรรม “ถูก” หรือ “โดน” เช่น
แดงถูกทำโทษเพราะเขาหนีเรียน
Dang was punished for cutting class.
2. ประโยคกรรม “ได้รับ” เช่น
ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับยกย่องมาก
This film was highly praised.
3. ประโยคกรรมความหมายเป็นกลาง ประธานเป็นสิ่งไม่มีชีวิต ไม่ได้กระทำกริยาด้วย ตนเอง แต่รับการกระทำจากผู้อื่น สิ่งอื่น ไม่มีคำว่า “ถูก” หรือ “ได้รับ” ปรากฏอยู่ เช่น
บ้านหลังนี้สร้างเมื่อ 2 ปีก่อน
This house was built two years ago.
หนังสือพิมพ์ขายหมดตั้งแต่เช้า
The newspapers have been sold out since morning.
4. ประโยคในภาษาไทยที่มีคำว่า “โดย” ปรากฏอยู่ เช่น
เพลงนี้ร้องโดยสันติ
This song was sung by Santi.
1. ประโยคกรรมเน้นความ ในรูปโครงสร้าง Object + Subject + Verb เช่น
ตามีผู้ใหญ่บ้านของเราเสือกินเสียแล้ว
Grandpa Mee, the head of our village, was eaten up by a tiger.
2. ประโยคที่ไม่เจาะจงผู้กระทำกริยาไว้อย่างชัดเจน มักขึ้นต้นประโยคโดยใช้คำว่า “มี” เช่น
มีการสกัดทองคำที่ห้องทดลองในมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย
Gold has been created in a California Laboratory.
3. ประโยคที่ประธานไม่บ่งชัดว่าเป็นผู้ใดกระทำ มักนิยมแปลโดยใช้ “it” เป็นประธาน และใช้กริยา passive เช่น
เชื่อกันว่าชาวจีนมีหัวทางการค้ามากกว่าคนไทย
It is believed that the Chinese are cleverer in business than the Thai.
วิธีแปล
การแปลประโยคกรรมในภาษาไทยให้เป็นประโยค passive ทำได้ง่ายกว่าการแปลประโยค passive มาเป็นประโยคกรรม เพราะประโยค passive มี 2 รูปแบบเท่านั้น คือ ชนิดมีตัวการ และชนิดไม่มีตัวการ (ดูรายละเอียดในบทที่ 4)
จากประสบการณ์การสอนแปล ผู้เขียนมักจะพบว่าในการแปลไทยเป็นอังกฤษ ผู้แปลที่เป็นนักศึกษาและมีความรู้เรื่องโครงสร้างจากไวยากรณ์ไม่ดีพอ มักจะแปลชนิดคำต่อคำโดยเฉพาะเมื่อพบประโยคภาษาไทยยาว ๆ จึงทำให้เมื่อแปลแล้วไม่เป็นประโยคภาษาอังกฤษที่ถูกต้อง เพราะโครงสร้างของภาษาอังกฤษและภาษาไทยมีความแตกต่างกันมากโดยภาษาอังกฤษจะเรียงประโยคในลักษณะ Word Order ดังนั้น ผู้เขียนจึงมักจะแนะนำนักศึกษาให้ทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. นึกถึงโครงสร้างของประโยค passive ในภาษาอังกฤษ ซึ่งมีผู้ถูกกระทำ (กรรม) เป็นประธานของประโยค และกริยาอยู่ในรูป passive คือ verb to be (ซึ่งผันไปตาม tense ต่าง ๆ) + past participle (กริยาช่องที่ 3)
Grammatical subject + verb to be + past participle
(กรรมที่ทำหน้าที่เป็นประธาน)
2. พิจารณาประโยคกรรมภาษาไทยโดยดูว่า ใครเป็นผู้ถูกกระทำหรือรับผลของการกระทำ อะไรเป็นกริยา (ควรใช้ tense อะไร) แล้วจึงแปลออกมา ดูต่อไปว่ามีตัวการอยู่ในประโยคด้วยหรือเปล่า
ตัวอย่างการวิเคราะห์ประโยคกรรมในภาษาไทย
1. สมศรีถูกสุนัขกัดเมื่อวานนี้
สมศรี = ผู้ถูกกระทำ
ถูกกัด = กริยา (ซึ่งควรอยู่ในรูปอดีตกาล เพราะเหตุการณ์เกิดขึ้นไปแล้ว)
สุนัข = ตัวการ
เมื่อวานนี้ = ส่วนขยายบอกเวลา (จะวางไว้หน้าประโยคหรือหลังประโยคก็ได้)
คำแปล Somsri was bitten by a dog yesterday.
2. ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับยกย่องมาก
ภาพยนตร์เรื่องนี้ = ตัวรับผลการกระทำ
ได้รับยกย่อง = กริยา
มาก = ส่วนขยายกริยา
คำแปล This film was highly praised.
3. บ้านหลังนี้สร้างเมื่อสองปีก่อน
บ้านหลังนี้ = ตัวรับผลการกระทำ
สร้าง = กริยา (กล่าวอย่างเป็นกลาง)
เมื่อสองปีก่อน = ส่วนขยาย บอกเวลา
คำแปล This house was built two years ago.
4. เชื่อกันว่าเขายังมีชีวิตอยู่
ประโยคนี้เป็นโครงสร้างซับซ้อนซึ่งมาจาก
เชื่อกันว่า + เขายังคงมีชีวิตอยู่
เชื่อกันว่า เป็นการพูดลอย ๆ โดยละประธานไว้ แต่เมื่อแปลเป็นภาษาอังกฤษต้องมีประธาน ในที่นี้เติมประธานที่ไร้ความหมาย (dummy subject) it เข้าไป
เชื่อ = กริยา อยู่ในรูปของ passive
คำแปล It is believed he is still alive.
แบบฝึกหัด
I. จงแปลประโยคกรรมเหล่านี้ให้เป็นประโยค passive ที่ถูกต้อง
1. บ้านหลังนี้กำลังซ่อม
2. เขาถูกฆ่าตาย
3. เพลงนี้ร้องง่าย
4. ห้องนี้ตกแต่งไว้อย่างสวยงาม
5. จดหมายส่งออกไปเมื่อวานนี้
6. หนังสือเล่มนี้แปลโดยสุดา
7. มีรายงานว่าเกิดน้ำท่วมในหลายจังหวัดทางภาคเหนือ
8. เชื่อกันว่าผักและผลไม้มีเส้นใยมาก
9. ลูกชายเศรษฐีถูกโจรเรียกค่าไถ่จับตัวไป
10. ภาพของครอบครัววางอยู่บนโต๊ะทำงาน
II. จงแปลประโยคกรรมเหล่านี้ให้เป็นประโยค passive ที่ถูกต้อง
1. เดากันว่าจะมีการสั่นสะเทือนตามหลังอีกหลายครั้งหลังจากแผ่นดินไหวครั้งใหญ่
2. ศูนย์กีฬาจะสร้างที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์วิทยาเขตรังสิต
3. น้ำมันดอกทานตะวันสกัดมาจากเมล็ดทานตะวัน
4. ในปัจจุบันเครื่องส่งโทรสารใช้กันมากในที่ทำงานที่ทันสมัยทุกแห่ง
5. กล่าวกันว่าความรักทำให้คนตาบอด
6. เขาได้เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้จัดการห้างสรรพสินค้า
7. ผู้หญิงคนนั้นถูกคนรักฆ่าตาย
8. สะพานนี้สร้างด้วยเงินของประชาชน
9. ไม้สักจำนวนมากถูกโค่นลง
10. แพไม้ไผ่ใช้เป็นที่พักของนักท่องเที่ยว
การเลือกใช้ Article
การเลือกใช้ Article
ในภาษาไทย คำนามแต่ละตัวที่ใช้ไม่มีคำประเภท Article (a, an, the) นำหน้าเหมือนกับคำนามในภาษาอังกฤษซึ่งถ้าเป็นนามนับได้จะต้องมี Article กำกับอยู่ ดังนั้น เมื่อผู้แปลแปลประโยคหรือข้อความจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษมักจะเกิดปัญหา คือ
· ลืมใส่ Article ข้างหน้านาม
· ไม่สามารถเลือกใช้ Article ได้ถูกต้อง การใช้ Article ผิด มีผลทำให้ความหมายผิดไปด้วย ตัวอย่างเช่น
He sold the car.
(เขาขายรถคันนั้นไปแล้ว – ผู้พูดและผู้ฟังเข้าใจกันดีว่าหมายถึงรถคันไหน)
He sold a car.
(เขาขายรถไปคันหนึ่ง เขามีรถหลายคันและเขาขายไปหนึ่งคัน ไม่ได้เจาะจงว่าเป็นคันไหน)
ทั้งสองประโยคถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ แต่ความหมายจะต่างกันมาก และความแตกต่างกันนั้นเกิดขึ้นเพราะการใช้ Article ที่แตกต่างกัน ในเรื่องของการแปลจากตัวอย่างประโยคสองประโยคข้างบน ถ้าตั้งใจจะหมายความว่า เขาขายรถไป คันหนึ่ง แล้วแปลเป็นภาษาอังกฤษว่า “He sold the car.” ความหมายในประโยคภาษาอังกฤษจะไม่ตรงกับความหมายในภาษาไทยทันที ดังนั้น จะเห็นว่าปัญหาในการแปลภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ สิ่งที่ก่อให้เกิดปัญหามากอย่างหนึ่งก็คือ เรื่องของการเลือกใช้ Article ให้ถูกต้องนั่นเอง
วิธีแปล
ผู้แปลควรพิจารณาเนื้อความของประโยคที่จะแปลอย่างรอบคอบเพื่อดูว่า คำนามในประโยคนั้นควรใช้ Article หรือไม่ เพราะคำนามในภาษาอังกฤษมี 2 ประเภท คือ คำนามประเภทนับได้ (Countable nouns) และคำนามประเภทนับไม่ได้ (Uncountable nouns) คำนามที่นับได้เมื่อใช้เป็นรูปเอกพจน์จะต้องมี Article (a, an หรือ the แล้วแต่กรณี) นำหน้าเสมอ ส่วนคำนามประเภทนับไม่ได้นั้นโดยปกติแล้วจะไม่ใส่ Article (มีข้อยกเว้น คือ นามบางคำจะเป็นได้ทั้ง Countable และ Uncountable nouns)
เรื่องของการใช้ Article ให้ถูกต้องนี้ เป็นเรื่องที่ยุ่งยากและซับซ้อน ผู้แปลควรจะต้องหาความชำนาญโดยการหัดสังเกต ถ้ายังไม่เข้าใจควรทบทวนหลักเกณฑ์การใช้และไม่ใช้ Article จากตำราไวยากรณ์เบื้องต้น
ตัวอย่างของการใช้และไม่ใช้ Article
1. เขาเป็นคริสเตียนที่ดี เขาไปโบสถ์ทุกวันอาทิตย์
He is a good Christian; he goes to church every Sunday.
(ละ Article หน้านาม church)
2. โบสถ์ที่เขาไปเป็นประจำอยู่ในเมือง
The church that he always goes to is in the city.
(ใส่ Article หน้านาม church)
3. พ่อของเขาไม่ทราบว่าเขาไม่ไปโรงเรียน
His father did not know that he had not been to school.
(ละ Article หน้านาม school)
4. โรงเรียนที่ฉันเคยเรียนปิดไปแล้ว
The school where I used to study was closed now.
(ใส่ Article หน้านาม school)
5. ข้าวผัดกุ้งอร่อยมาก
Shrimp fried rice is very delicious.
(rice เป็นคำนามนับไม่ได้ ไม่ต้องใส่ Article)
6. ฉันขอกาแฟไม่ใส่นม
I would like to have coffee without milk.
(ละ Article หน้านาม coffee และ milk เพราะเป็นคำนามที่นับไม่ได้ทั้ง 2 คำ)
7. ฉันชอบเดินทางโดยรถไฟมากกว่าเครื่องบิน
I prefer going by train to going by plane.
(สำนวนเกี่ยวกับการเดินทาง เช่น by plane / by train / by car, etc. ไม่ใส่ Article
หน้านาม)
8. คนซื่อสัตย์ควรได้รับยกย่องจากสังคม
The honest should be praised by society.
(ใส่ Article the หน้าคำคุณศัพท์ ทำให้กลายเป็นคำนาม the honest = the honest
people)
9. น้ำตาลทรายขาวไม่ดีต่อสุขภาพ
White sugar is not good for one’s health.
(ละ Article หน้านาม sugar เพราะเป็นคำนามที่นับไม่ได้)
10. เขาว่ากันว่าคนไทยขี้เกียจ
They said that Thai people are lazy.
(ละ Article หน้า Thai people เพราะเป็นนามพหูพจน์)
11. มีผมเส้นหนึ่งอยู่ในซุปของฉัน
There’s a hair in my soup.
(ผมหนึ่งเส้น เป็นนามนับได้ ใส่ Article ได้)
12. คุณมีผมยาวจัง
You’ve got very long hair.
(ละ Article หน้า hair เพราะในปริบทนี้ หมายถึง ผมทั้งศีรษะ ถือเป็นนามนับ
ไม่ได้)
13. คุณอยู่กับเราได้ มีห้องว่างห้องหนึ่ง
You can stay with us. There is a spare room.
(ใส่ Article เพราะห้องเป็นนามที่นับได้)
14. คุณนั่งตรงนี้ไม่ได้ ไม่มีที่ว่างแล้ว
You can’t sit here. There isn’t room.
(ละ Article หน้า room ซึ่งในปริบทนี้แปลว่า ที่ว่าง ถือเป็นนามที่นับไม่ได้)
15. ฉันซื้อหนังสือพิมพ์มาอ่านฉบับหนึ่ง
I bought a paper to read.
(paper ในปริบทนี้ หมายถึง newspaper เป็นนามนับได้ ใส่ Article ได้)
16. ฉันต้องการกระดาษเพื่อมาเขียนหนังสือ
I need some paper to write on.
(paper หมายถึง กระดาษ เป็นนามนับไม่ได้ ไม่ใส่ Article แต่ใช้กับคำประเภท
some หรือ any ได้)
17. คุณได้ยินเสียงอะไรตอนนี้ไหม
Did you hear a noise just now?
(ในปริบทนี้หมายถึง เสียง ที่เกิดขึ้นตอนนี้ = a particular noise ใส่ Article ได้)
18. ฉันทำงานที่นี่ไม่ได้หรอก เสียงดังมากไป
I can’t work here. There’s too much noise.
(noise ในปริบทนี้เป็นนามที่นับไม่ได้ ใส่ Article ไม่ได้)
19. ฉันรอไม่ได้ ฉันไม่มีเวลา
I can’t wait. I haven’t got time.
(ละ Article หน้า time ซึ่งแปลว่า เวลา เป็นนามที่นับไม่ได้)
20. เที่ยวให้สนุกนะ
Enjoy your holiday. Have a good time!
(Have a good time! เป็นสำนวน ซึ่งใช้ Article a โดยเฉพาะ)
แบบฝึกหัด
I. จงแปลประโยคเหล่านี้เป็นภาษาอังกฤษและเลือกใช้ Article ให้ถูกต้อง
1. เพื่อนบ้านฉันไปโบสถ์ทุกวันอาทิตย์
2. ผักที่ร้านนี้ไม่สด
3. ดอยอินทนนท์เป็นภูเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทย
4. ครูใหญ่โรงเรียนนี้เข้มงวดมาก
5. ไฟไหม้และทำลายคอนโดมิเนียมหมดทั้งหลัง
6. ทุกครั้งที่ไปซื้อของ นำกระเป๋าผ้าไปด้วยนะ
7. ทะเลอันดามันอยู่ตรงไหน
8. ช่วยกรุณาส่งจดหมายให้ฉันด้วย
9. กระดาษที่เธอให้ฉันไม่สกปรก
10. เสียงหัวเราะเป็นยาที่ไม่มีผลข้างเคียง
II. จงแปลประโยคเหล่านี้เป็นภาษาอังกฤษและเลือกใช้ Article ให้ถูกต้อง
1. เธอไม่รู้จักประเทศสหรัฐอเมริกา
2. หมอแนะนำให้เขาใช้น้ำมันพืชปรุงอาหาร
3. โรงเรียนที่เธอรักเก่ามากแล้ว
4. เวลาเป็นสิ่งที่มีค่า
5. ความรักนำมาซึ่งความเจ็บปวดและความสุข
6. อย่าใส่น้ำตาลในกาแฟมากขนาดนั้น
7. บ้านที่มุมถนนเป็นของเศรษฐีชรา
8. มหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยคือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
9. ฉากแรกของละครเรื่องนี้เกิดขึ้นในสวนของคฤหาสน์
10. ประเทศฟิลิปปินส์ประกอบด้วยเกาะใหญ่น้อยมากมาย
บทที่ 13 การแปลโดยเลือกคำให้เหมาะกับเนื้อความ
การแปลโดยเลือกคำให้เหมาะกับเนื้อความ
ปัญหาอีกอย่างหนึ่งที่พบมากในการแปลไทยเป็นอังกฤษ คือ การเลือกใช้คำผิด สาเหตุที่เลือกใช้คำผิดอาจจะเนื่องมาจากความคุ้นเคยกับศัพท์ที่ใช้มาแต่เดิม หรืออีกสาเหตุหนึ่งที่ผู้เขียนพบจากประสบการณ์ในการสอนแปล คือ การที่ผู้แปลซึ่งเป็นนักศึกษาใช้พจนานุกรมไทย-อังกฤษ ที่ให้คำศัพท์หลายคำที่มีความหมายตรงกับศัพท์ภาษาไทยแต่ ไม่ได้อธิบายหรือให้ตัวอย่างการใช้ที่ชัดเจนพอ เมื่อผู้แปลนำมาใช้โดยไม่ได้ค้นหา ความหมายให้ละเอียด จึงอาจทำให้เลือกคำที่ไม่ตรงกับความหมายที่แท้จริงของประโยคที่จะแปล ดังตัวอย่างเช่น
คำว่า “แนะนำ” ในภาษาไทย มีความหมายที่ตรงกับคำศัพท์ในภาษาอังกฤษ เช่น introduce / recommend / advise / suggest เป็นต้น
ในปริบทว่า “ที่งานเลี้ยงแห่งหนึ่ง เพื่อนของฉันแนะนำให้ฉันรู้จักกับ จินตหรา สุขพัฒน์”
ถ้าแปลโดยเลือกคำว่า ‘advise’
At a party, my friend advised me to Jintara Sukhaphat.
ความหมายของประโยคนี้จะไม่ถูกต้องเลยในภาษาอังกฤษเพราะ advise คือ แนะนำทั่ว ๆ ไป ให้ทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ แต่ในประโยคข้างต้น คำที่ควรเลือกมาใช้ คือ คำว่า “introduce” ซึ่งแปลว่า แนะนำให้รู้จัก ประโยคนี้จึงควรแปลว่า
At a party, my friend introduced me to Jintara Sukhaphat.
วิธีแปล
จากตัวอย่างที่ยกมานี้จะเห็นว่าภาษาแต่ละภาษามีจำนวนคำที่จะสื่อ ความหมายถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่เท่ากัน ทั้งนี้แล้วแต่ความจำเป็นในการใช้ตามลักษณะสังคมและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษานั้น ๆ สิ่งนี้เป็นข้อเท็จจริงที่ผู้แปลควรตระหนัก ดังนั้น ผู้แปลจึงต้องอ่านข้อความที่จะแปลอย่างละเอียดถี่ถ้วนและดูปริบทประกอบจึงจะเลือก
ความหมายที่ถูกต้องในแต่ละกรณีได้ ในเรื่องความหมายของคำนั้นนอกจากจะหมายถึง การรู้ความหมายของคำตามพจนานุกรมแล้ว ยังหมายถึง การรู้ความหมายโดยนัย (connotation) ของศัพท์คำ นั้น ๆ ด้วย จึงจะสามารถแปลออกมาได้ดีและถูกต้องเพื่อให้ผู้แปลได้ฝึกฝนการเลือกใช้คำให้ถูกต้อง จงดูตัวอย่างต่อไปนี้
เตือน
1. ฉันเตือนเขาแล้วให้ทบทวนบทเรียน
I already told him to review his lessons.
2. ช่วยเตือนฉันให้ปิดไฟด้วย
Please remind me to turn off the light.
3. เด็ก ๆ ถูกเตือนไม่ให้อมลูกอมสี ๆ
Children were warned not to eat colorful candies.
แนะนำ
1. ฉันอยากจะแนะนำให้เธอดูหนังเรื่อง ฟอเรสต์ กัมพ์
I would like to recommend you to see the movie “Forest Gump”.
2. บริษัทนี้เป็นบริษัทที่แนะนำและสั่งไวน์เข้ามาในเมืองไทย
This company is the first one to introduce and import wine in Thailand.
3. ฉันแนะนำให้เธอคิดอย่างรอบคอบก่อนที่จะตัดสินใจ
I advise you to think very carefully before making any decision.
4. ฉันแนะนำให้คุณไปเสียเดี๋ยวนี้
I suggest you leave now.
ปฏิเสธ
1. เขาไม่ได้รับหรือปฏิเสธข้อกล่าวหา
He did not confirm or deny the charge.
2. เขาเชื้อเชิญเธอไปงานเลี้ยงแต่เธอปฏิเสธ
He invited her to a party but she turned down (declined) his invitation.
3. ภรรยาต้องการให้เขาไปต่างจังหวัดด้วย แต่เขาปฏิเสธ
His wife wanted him to go upcountry with her, but he refused to go.
ไป / มา
1. เพื่อนของฉันมาเยี่ยมฉันที่บ้านเมื่อวานนี้
My friend came to see me at home yesterday.
2. ฉันจะไปลำปางอาทิตย์หน้า ไปกับฉันไหม
I will go to Lampang next week. Will you come with me?
3. คุณครูจะไปหาเธอที่บ้านพรุ่งนี้
The teacher will come and see her tomorrow.
4. ไปพบฉันที่ห้องนะ
Come to see me at my office.
ลาออก
1. พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 ทรงสละราชสมบัติ (ลาออก) ในปี ค.ศ. 1936.
King Edward VIII abdicated in 1936.
2. ฉันลาออกจากการเป็นประธาน
I resigned (my post) as chairman.
3. เขาถูกบริษัทให้ยื่นใบลาออก
He was given notice by the company.
เสีย
1. อย่าดื่มนมในขวดนั้น นมเสียแล้ว
Don’t drink milk in that bottle; it has turned sour.
2. ไข่ในตะกร้าเสียหมด
All the eggs in the basket were rotten.
3. ขนมปังบางก้อนเสีย
Some bread was stale.
4. เนยกับเบคอนนั่นเสีย กลิ่นพิกล
That butter and bacon are rancid; they smell unpleasant.
5. เพราะว่าเธอให้ลูกทุก ๆ อย่างที่พวกเขาต้องการ ลูก ๆ เธอจึงเสียเด็ก
Because she gave them everything that they wanted, her children were spoiled.
แบบฝึกหัด
I. จงแปลประโยคต่อไปนี้โดยเลือกใช้คำให้เหมาะกับเนื้อความ
1. ฉันไม่อยากพูดเลยว่าได้เตือนเธอแล้ว
2. อย่างน้อยที่สุดที่ฉันทำได้คือ เตือน พวกเขาว่ามีอันตรายรออยู่
3. หล่อนต้องเตือนเขาว่าเขามีภรรยาแล้ว
4. ภาพของเด็ก ๆ ที่หิวโหยเตือนให้เขานึกถึงความยากจนในวัยเด็ก
5. คุณจะกรุณาแนะนำสถานที่จะไปพักผ่อนช่วงวันหยุดสั้น ๆ ให้หน่อยได้ไหม
6. สมศรีแนะนำว่าการวิ่งเหยาะเป็นการออกกำลังกายที่ดีแบบหนึ่ง
7. สุธนแนะนำฉันไม่ให้จ่ายตลาดที่บางลำภู
8. นายของพวกเขาปฏิเสธที่จะมอบความรับผิดชอบใด ๆ ให้แก่พวกเขา
9. ทอมปฏิเสธเรื่องที่ว่าเขาทำผิดกฎหมายไม่ว่าเรื่องใด
10. เขาปฏิเสธความช่วยเหลือของเพื่อน
II. จงแปลประโยคต่อไปนี้โดยเลือกใช้คำให้เหมาะกับเนื้อความ
1. นมบูด (เสีย) มีรสชาติแปลก ๆ เพราะไม่สด
2. กลิ่นเหมือนไข่เน่า
3. ขนมปังเสียง่าย เมื่ออากาศร้อน
4. เด็กคนนั้นนิสัยเสียมาก
5. คุณจะต้องมากับเรา เราต้องการให้คุณไปกินอาหารกลางวันด้วย
6. เขาไปเดินเล่น
7. แม่ฉันมาเยี่ยมฉันเมื่อเดือนที่แล้ว
8. กษัตริย์ฝรั่งเศสองค์สุดท้าย คือ หลุยส์ ฟิลลิปส์ ผู้ทรงสละราชสมบัติ (ลาออก) ในปี 1848
9. คุณร็อบลาออกจากตำแหน่งเมื่อเดือนที่แล้ว
10. เขาลาออกจากการเป็นเด็กส่งเอกสาร
บทที่ 14 คำที่เป็นปัญหาในการแปล
คำที่เป็นปัญหาในการแปล
ในการแปลไทยเป็นอังกฤษนั้นมีคำศัพท์หลายคำซึ่งไม่ใช่คำที่ซับซ้อนอะไร แต่ ผู้แปลที่เป็นนักศึกษามักจะแปลผิดอยู่เสมอ ๆ ผู้เขียนได้รวบรวมคำศัพท์เหล่านี้ไว้เป็นตัวอย่างดังต่อไปนี้
ควรจะ / น่าจะ
คำสองคำนี้ก็ก่อให้เกิดปัญหากับผู้เรียนในการแปลไทยเป็นอังกฤษมาก คำสองคำนี้จะตรงกับคำว่า “should” และ “ought to” ในภาษาอังกฤษ แต่ผู้เรียนมักจะสับสนในการใช้คำสองคำนี้ เช่น ใช้เป็น should to ซึ่งทำให้เกิดความผิดทางด้านโครงสร้าง เช่น
1. เขาควรจะทบทวนบทเรียนบ้าง
มีผู้แปลว่า: He should to review his lessons.
ควรแปลว่า: He should review his lessons.
หรือ: He ought to review his lessons.
อีกประเด็นที่เป็นปัญหาในการใช้ should คือ การใช้เพื่อบอกถึงเหตุการณ์ที่ตรงข้ามกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในอดีต หรือการคาดคะเน ซึ่งในกรณีนี้ต้องใช้ should + have +กริยาช่องที่ 3
2. เขาน่าจะสอบได้ (แต่ความจริงเขาสอบตก)
He should have passed the exam, but he failed.
3. ฉันรู้ว่าฉันน่าจะมาแต่เช้า (แต่ความจริงฉันมาสาย)
I know that I should have come early.
เคย
คำว่า “เคย” นี้ ผู้เรียนมักจะแปลโดยใช้คำว่า “ever” ในขณะที่คำว่า “ไม่เคย” จะใช้คำว่า “never” ดังเช่นในประโยค
1. ฉันเคยไปดูหนังมากแต่เดี๋ยวนี้ไม่มีเวลาเลย
มีผู้แปลว่า: I ever go to the cinema a lot, but I never get the time now.
ควรแปลว่า: I used to go to the cinema a lot, but I never get the time now.
นอกจากนี้ผู้เรียนควรจำไว้ว่า คำว่า “used to” นั้น จะใช้บอกถึงการกระทำที่เคยทำโดยไม่จำกัดช่วงเวลา ถ้ามีกริยาวิเศษณ์ที่จำกัดเวลา เช่น once อยู่ในประโยค เราจะไม่ใช้ used to ในการแปลคำว่า “เคย” เช่น
2. ครั้งหนึ่งเขาเคยแต่งงานกัน
มีผู้แปลว่า: They used to married once.
ควรแปลว่า: They were once married.
ปัญหาที่เกี่ยวกับคำว่า “เคย” ที่ผู้สอนเคยพบอีกเรื่องหนึ่งก็คือ ผู้เรียนมักจะใช้ สับสนกับ to be used to / to get used to ซึ่งแปลว่า “เคยชิน” เช่น
3. เธออาศัยอยู่ในฟาร์ม ดังนั้น เธอจึงเคยชินกับการตื่นแต่เช้า
She lives on a farm, so she is used to getting up very early.
ประโยคข้างบนนี้จะแปลโดยใช้คำว่า “เคย”ไม่ได้ เพราะความหมายในประโยคภาษาอังกฤษจะผิดไปเลยจากต้นฉบับภาษาไทย
เพราะว่า / เนื่องมาจากว่า
คำในภาษาอังกฤษที่มีความหมายตรงกับภาษาไทยที่ผู้เรียนรู้จักและชอบนำมาใช้ในการแปล คือ คำว่า “because” แต่มักจะใช้ผิด คือ ใช้ because ขึ้นต้นประโยค และจบประโยคด้วยเครื่องหมายฟูลสต็อป ทั้ง ๆ ที่ในการใช้ที่ถูกต้อง because คือ คำที่ทำหน้าที่เชื่อมประโยคในประโยคชนิดซับซ้อน (Complex sentence) ดังตัวอย่างเช่น
1. เพราะว่าพ่อไม่อนุญาตให้เธอไปงานเลี้ยงคืนนี้ เธอจึงอารมณ์เสีย
มีผู้แปลว่า: Because her father won’t let her go to the party tonight. She’s in a bad
mood.
ควรแปลว่า: Because her father won’t let her go to the party tonight, she’s in a bad mood.
หรือสลับประโยคว่า
She’s in a bad mood because her father won’t let her go to the party tonight.
นอกจากคำว่า “because” แล้ว คำว่า “since” กับ “as” ก็สามารถใช้แทน “because” ได้ในประโยคนี้ เพราะ since / as ไม่ได้ใช้เป็นคำบอกเวลาอย่างเดียว แต่สามารถใช้บอกความเป็นเหตุเป็นผลได้เช่นเดียวกับ because เช่น
2. She’s in a bad mood since (as) her father won’t let her go to the party tonight.
ถ้าจะแปลประโยคนี้เป็นภาษาไทย อย่าไปยึดติดแปลคำว่า “since” หรือ “as” ว่า “ตั้งแต่” เท่านั้น
มีผู้แปลว่า: เธออารมณ์เสียตั้งแต่พ่อไม่อนุญาตให้เธอไปงานเลี้ยงคืนนี้
ควรแปลว่า: เธออารมณ์เสียเพราะพ่อไม่อนุญาตให้เธอไปงานเลี้ยงคืนนี้
มีคำง่าย ๆ เช่น “มี” ก็ก่อให้เกิดปัญหาในการแปลไม่น้อยทีเดียว ตัวอย่างเช่น
1. มีการตีกันหลายครั้งนอกสนามกีฬา แต่ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ
มีผู้แปลว่า: There were several fights happened outside the stadium, but no one was hurt.
ควรแปลว่า: There were several fights outside the stadium, but no one was hurt.
2. มีผู้โดยสารเพียง 12 คน จาก 140 คน ที่รอดชีวิตจากเครื่องบินตก
มีผู้แปลว่า: There were only 12 of the 140 passengers survived the plane crash.
ควรแปลว่า: Only 12 of the 140 passengers survived the plane crash.
3. บ้านหลังนี้มี 2 ห้องนอน
มีผู้แปลว่า: This house has two bedrooms.
ควรแปลว่า: There are two bedrooms in this house.
4. มีคนบอกฉันว่าพวกเขาแต่งงานกันแล้ว
มีผู้แปลว่า: There was someone telling me they got married.
ควรแปลว่า: Someone told me they got married.
จะสังเกตว่าในการแปลคำว่า “มี” นั้น ไม่จำเป็นต้องใช้ there + verb to be เสมอไป ดังเช่นในประโยคที่ 2 และ 4
ให้ยืม / ขอยืม
คำว่า “ยืม” มีทั้งให้ยืมและขอยืม แต่ผู้เรียนมักจะรู้จักแต่คำว่า “borrow” ซึ่งแปลว่า ขอยืม ส่วนคำว่า “lend” ซึ่งแปลว่า ให้ยืม นั้น มักจะไม่รู้จักและใช้ไม่เป็น ดังนั้น ผู้เรียนซึ่งมักจะแปลคำว่า “ยืม” ไม่ว่าจะให้ยืม หรือ ขอยืม โดยใช้แต่คำว่า “borrow” ดังตัวอย่างเช่น
1. คุณจะกรุณาให้ฉันยืมดินสอหน่อยได้ไหม
มีผู้แปลว่า: Would you mind borrowing me your pencil?
ควรแปลว่า: Would you mind lending me your pencil?
2. ธนาคารจะไม่ให้เธอยืมเงินไปซื้อรถแน่ ๆ
มีผู้แปลว่า: The bank wouldn’t borrow her the money to buy the car.
ควรแปลว่า: The bank wouldn’t lend her the money to buy the car.
ส่วนคำว่า “borrow” จะตรงกับความหมายภาษาไทยว่า ขอยืม เช่น
3. เธอต้องการยืมเงินเพื่อจ่ายค่าหมอ
She needs to borrow some money to pay the doctor.
แบบฝึกหัด
I. จงแปลประโยคเหล่านี้ให้ถูกต้อง
1. เพราะว่าเธอเป็นลูกคนสุดท้องพ่อแม่จึงรักมาก
2. เขาให้เงินเธอเพราะเธอยากจน
3. เธอชอบขอยืมเงินเพื่อนบ่อย ๆ
4. เพื่อน ๆ เธอไม่ให้เธอยืมเงินอีกแล้ว
5. เธอควรจะส่งการบ้านพรุ่งนี้เป็นอย่างช้า
6. เขาน่าจะไปทำงานแล้ว แต่เขายังดูทีวีอยู่เลย
7. ฉันเคยรู้จักคุณหรือเปล่า
8. เขาเคยชินกับการนอนตื่นสาย
9. มีคนมาหาคุณแน่ะ
10. มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นบ่อยครั้งที่สี่แยกนี้
II. จงแปลประโยคเหล่านี้ให้ถูกต้อง
1. คุณเคยไปเที่ยวภูเก็ตหรือเปล่า
2. แม่เคยบอกเขาว่า ให้ขยันดูหนังสือ
3. มีคนบอกฉันว่า เธอเป็นอดีตนางสาวไทย
4. มีเงินอยู่ในลิ้นชัก
5. เธอควรจะมาถึงบ้านแล้ว
6. ฉันไม่ชอบขอยืมเงินคนอื่น
7. ฉันยินดีให้เธอยืมหนังสือ
8. เขาไม่ได้มาโรงเรียนเพราะว่าเขาป่วย
9. ครูไม่ตำหนิเธอหรอกเพราะครูเข้าใจปัญหาของเธอ
10. เธอเคยชินกับการสวมกระโปรงยาว
บทที่ 15 การแปลที่จำเป็นต้องตรวจแก้
การแปลที่จำเป็นต้องตรวจแก้
ในการเรียนการสอนแปลนั้นแม้ผู้เรียนจะรู้หลักหรือทฤษฎีแล้ว แต่เมื่อแปลออกมาแล้วก็ยังมีข้อผิดพลาดที่จำเป็นต้องตรวจแก้ ในการตรวจแก้และให้เฉพาะคำแปลที่ถูกต้องนั้นยังไม่เพียงพอในความคิดของผู้เขียน ถ้าจะให้ดียิ่งขึ้นผู้เขียนคิดว่าควรจะต้องมีการตั้งข้อสังเกตและวิเคราะห์ข้อผิดพลาดในงานแปลนั้นให้ผู้เรียนทราบด้วยว่ามี ผิด ถูก อย่างไร แล้วจึงบอกให้ทราบถึงคำแปลที่ถูกต้องประกอบไปด้วย
ตัวอย่างงานแปลที่จำเป็นต้องตรวจแก้ในบทนี้ ผู้เขียนได้รวบรวมมาจากงานแปลของนักศึกษาเพื่อเป็นแนวทางให้เห็นข้อบกพร่องต่าง ๆ และวิธีการแปลที่เหมาะสม
ตัวอย่างการแปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย
1. Only three people were promoted, namely Sompong Jaidee, Suda Rukdee, and Mai Rukmoo.
มีผู้แปลว่า: คนสามคนถูกแต่งตั้ง คือ สมพงษ์ ใจดี สุดา รักดี และ ใหม่ รักหมู่
ข้อสังเกต: ผู้แปลมักจะแปลประโยค passive voice ออกมาเป็นประโยคกรรม “ถูกกระทำ” ซึ่งมีคำว่า “ถูก” หรือ “โดน” ทั้ง ๆ ที่ความหมายของประโยค passive voice นี้ เป็นไปในทางบวกหรือด้านดี
ควรแปลว่า: มีเพียงสามคนเท่านั้นที่ได้เลื่อนตำแหน่ง คือ สมพงษ์ ใจดี สุดา รักดี และ ใหม่ รักหมู่
2. The man who was bitten by a snake was given a serum.
มีผู้แปลว่า: ผู้ชายที่ถูกงูกัดได้รับพิษงู
ข้อสังเกต: ผู้แปลไม่เข้าใจความหมายของคำว่า “serum” ส่วน passive voice (was bitten) แปลโดยใช้คำว่า “ถูก” หรือ “โดน” นั้น ถูกต้องแล้ว เพราะ passive voice ในประโยคนี้มีความหมายในเชิงลบ
ควรแปลว่า: ผู้ชายที่ถูกงูกัดได้รับยาฉีดแก้พิษงู
3. Most of the people invited to the party didn’t turn up.
มีผู้แปลว่า: คนส่วนใหญ่ไปงานปาร์ตี้ไม่ได้กลับมา
ข้อสังเกต: ผู้แปลไม่เข้าใจโครงสร้างประโยค passive voice ชนิดลดรูป ซึ่งในประโยคนี้มีความหมายในเชิงบวก คือ ได้รับเชิญ อีกทั้งผู้แปลไม่รู้ความหมายของสำนวน turn up และยังแปลทับศัพท์คำว่า “party” อีกด้วย
ควรแปลว่า: ผู้ได้รับเชิญมางานเลี้ยงส่วนใหญ่ไม่มาปรากฏตัว
4. It was annoying not being able to remember his address.
มีผู้แปลว่า: มันน่ารำคาญที่ไม่สามารถจำบ้านเลขที่ของเขาได้
ข้อสังเกต: ผู้แปลมักแปลสรรพนาม it ซึ่งในที่นี้ทำหน้าที่เป็น Impersonal pronoun และ dummy subject ไม่จำเป็นต้องแปลคำว่า “it” ว่า “มัน” ในทุกที่เสมอไป
ควรแปลว่า: เป็นเรื่องน่ารำคาญที่จำบ้านเลขที่ของเขาไม่ได้
5. What you have written is not suitable for publication.
มีผู้แปลว่า: คุณเขียนอะไรที่ไม่เหมาะสมสำหรับสาธารณะ
ข้อสังเกต: ผู้แปลไม่ทราบความหมายของ Indefinite pronoun “what” ซึ่งอาจแปลว่า สิ่ง เรื่อง แล้วแต่ปริบท นอกจากนี้ผู้แปลเข้าใจผิดว่า “publication” เป็นคำเดียวกับ “public” จึงให้ความหมายที่ผิดมา
ควรแปลว่า: สิ่งที่คุณเขียนไม่เหมาะที่จะตีพิมพ์
6. By the end of this year, Sally will have been teaching English for twenty years.
มีผู้แปลว่า: เมื่อถึงสิ้นปี แซลลีได้สอนภาษาอังกฤษมายี่สิบปี
ข้อสังเกต: ผู้แปลยังไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ tense ในภาษาอังกฤษดีพอ จึงแปล future perfect tense ได้ไม่กระชับรัดกุมพอ
ควรแปลว่า: พอถึงสิ้นปี แซลลีก็สอนภาษาอังกฤษมาได้ยี่สิบปี
7. Warunee has just completed a new motion picture, which will open at the Grand Cinema.
มีผู้แปลว่า: วารุณีได้เสร็จสิ้นการแสดงภาพเคลื่อนไหวซึ่งจะเปิดการแสดงที่โรงหนัง
แกรนด์
ข้อสังเกต: ผู้แปลไม่เข้าใจความหมายของ present perfect tense และไม่รู้ความหมายของศัพท์ “motion picture”
ควรแปลว่า: วารุณีเพิ่งเสร็จการแสดงภาพยนตร์เรื่องใหม่ที่จะฉายที่โรงหนังแกรนด์
8. Please give me a ring when you arrive and I will pick you up.
มีผู้แปลว่า: โปรดให้แหวนฉัน เมื่อคุณมาถึงแล้วฉันจะไปหาคุณ
ข้อสังเกต: ผู้แปลไม่เข้าใจสำนวน to give (someone) a ring
ควรแปลว่า: โปรดโทรศัพท์ถึงฉันเมื่อคุณมาถึง แล้วฉันจะไปรับ
9. My friend wanted to fire her maid since she was disobedient.
มีผู้แปลว่า: เพื่อนของฉันต้องการจุดไฟเผาคนใช้เพราะเขาไม่เชื่อฟัง
ข้อสังเกต: ผู้แปลไม่มีความรู้เกี่ยวกับศัพท์ to fire ศัพท์นี้มีความหมายหลายนัย
ควรแปลว่า: เพื่อนของฉันต้องการไล่คนใช้ออกเพราะเจ้าหล่อนไม่เชื่อฟัง
10. The bandit deprived him of his money.
มีผู้แปลว่า: บัณฑิตได้พรากเงินไปจากเขา
ข้อสังเกต: ผู้แปลสับสนศัพท์ “bandit” โดยคิดว่าตรงกับคำว่า “บัณฑิต” ในภาษาไทย ประกอบกับไม่ทราบความหมายของคำว่า “deprive of”
ควรแปลว่า: โจร / ผู้ร้ายขโมยเงินของเขา
11. Information is collected before a decision is made.
มีผู้แปลว่า: ข้อมูลถูกเก็บรวบรวมก่อนการตัดสินใจที่จะทำ
ข้อสังเกต: ผู้แปลแปลประโยค passive โดยใช้คำว่า “ถูก” ซึ่งบอกความหมายในเชิงไม่ดี แต่ประโยคนี้เป็นประโยคกรรม ความหมายเป็นกลาง อาจแปลโดยการเติมคำว่า “มี”
ควรแปลว่า: มีการเก็บรวบรวมข้อมูลก่อนทำการตัดสินใจ
12. The West’s diseases have been closely linked to the consumption of meat and
dairy products.
มีผู้แปลว่า: เชื้อโรคของประเทศทางตะวันตกติดต่ออย่างใกล้ชิดกับผู้บริโภคเนื้อวัว และ
ของใช้ประจำวัน
ข้อสังเกต: ผู้แปลไม่รู้ความหมายของศัพท์คำว่า “disease” และ meat / dairy products จึงแปลผิด
ควรแปลว่า: โรคภัยไข้เจ็บทั้งหลายของชาวตะวันตกเกี่ยวโยงอย่างใกล้ชิดกับการบริโภคผลิตภัณฑ์ประเภทเนื้อและนม
13. They are generous although they are poor.
มีผู้แปลว่า: พวกเขาฉลาดแต่ถึงกระนั้นพวกเขาก็ยังจน
ข้อสังเกต: ผู้แปลไม่เข้าใจความหมายของคำเชื่อม although ที่ใช้เพื่อแสดงความหมายที่ขัดแย้งกัน
ควรแปลว่า: พวกเขาใจคอกว้างขวางแม้ว่าจะยากจนก็ตาม
14. One should perform one’s duty as well as he can.
มีผู้แปลว่า: บางคนจะทำงานของเขาให้ดีเท่าที่เขาสามารถทำได้
ข้อสังเกต: ผู้แปลแปลคำว่า “one” ซึ่งเป็น Indefinite pronoun ไม่เหมาะสมตามปริบท
ควรแปลว่า: คนเราควรจะทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้
15. You have to wait until the others come back.
มีผู้แปลว่า: คุณต้องรออยู่จนกว่าจะมีใครกลับมา
ข้อสังเกต: ผู้แปลแปลคำว่า “the others” ซึ่งเป็น Indefinite pronoun ไม่ถูกต้องตาม ปริบท
ควรแปลว่า: คุณต้องรออยู่จนกว่าคนอื่น ๆ จะกลับมา
16. Thailand’s economy is in a critical state.
มีผู้แปลว่า: เศรษฐกิจของประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงสำคัญ
ข้อสังเกต: ผู้แปลแปลความหมายของคำว่า “critical” ไม่เหมาะสมตามปริบท
ควรแปลว่า: เศรษฐกิจของประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงวิกฤติ
17. If I have a car, I can pick you up at the airport.
มีผู้แปลว่า: ถ้าฉันมีรถ ฉันสามารถไปส่งคุณที่สนามบินได้
ข้อสังเกต: ผู้แปลไม่รู้ความหมายของ phrasal verb “pick up”
ควรแปลว่า: ถ้าฉันมีรถ ฉันก็ไปรับคุณที่สนามบินได้
18. Eventhough the British and the Americans speak the same language, they can sometimes misunderstand one another.
มีผู้แปลว่า: ถึงแม้ว่าคนอังกฤษและคนอเมริกันพูดภาษาเหมือนกัน บางครั้งเขาสามารถที่จะเข้าใจกันผิดได้เหมือนกัน
ข้อสังเกต: ผู้แปลแปลคำว่า “same” โดยเลือกใช้คำไม่เหมาะสมกับเนื้อความ
ควรแปลว่า: ถึงแม้ว่าคนอังกฤษและคนอเมริกันจะพูดภาษาเดียวกัน บางครั้งเขาก็ยังเข้าใจ
ผิดกันได้
19. It will take me quite some time to get him interested in buying your land.
มีผู้แปลว่า: มันต้องใช้เวลาสำหรับฉันในการที่จะทำให้เขาสนใจที่จะซื้อที่ดินของคุณ
ข้อสังเกต: ผู้แปลแปลสรรพนาม “it” ซึ่งเป็นประธานที่ไร้ความหมายว่า “มัน” ซึ่งไม่จำเป็น ตัดทิ้งไปเลยไม่ต้องแปล
ควรแปลว่า: ฉันคงต้องใช้เวลามากทีเดียวที่จะทำให้เขาสนใจซื้อที่ดินของเธอ
20. She felt as if she were in heaven when she got a great compliment from her
parents.
มีผู้แปลว่า: เธอรู้สึกเหมือนกับว่าเธอได้อยู่ในสวรรค์เมื่อเธอได้รับคำเยินยออันมากอัน
หนึ่งจากผู้ปกครองของเธอ
ข้อสังเกต: เป็นการแปลที่ใช้คำเยิ่นยอและเลือกใช้คำไม่เหมาะกับเนื้อความ
ควรแปลว่า: เธอรู้สึกราวกับอยู่บนสวรรค์เมื่อเธอได้รับคำชมเชยจากบิดามารดา
21. Though I hate crowded places, I have to work in Bangkok.
มีผู้แปลว่า: ฉันเกลียดที่ ๆ มีฝูงชน แต่ฉันก็ต้องทำงานในกรุงเทพฯ
ข้อสังเกต: ผู้แปลไม่แปลคำโยงความให้ชัดเจน ถูกต้อง ข้อความจึงไม่ต่อเนื่องกัน
ควรแปลว่า: แม้ว่าฉันจะไม่ชอบสถานที่แออัด ฉันก็จำต้องทำงานอยู่ในกรุงเทพฯ อยู่ดี
22. Exhausted by long hours of work, he decided to go to bed early.
มีผู้แปลว่า: เหน็ดเหนื่อยในการทำงานหลายชั่วโมง เขาตัดสินใจไปนอนเร็ว ๆ
ข้อสังเกต: วลีที่ทำหน้าที่เป็น participle phrase ที่ขยายประธานที่ตามมาข้างหลัง เมื่อ
แปลเป็นภาษาไทยขึ้นควรต้นประโยคด้วยประธานก่อน ความหมายจึงจะ ชัดเจน
ควรแปลว่า: เขารู้สึกเหน็ดเหนื่อยเนื่องจากทำงานมาหลายชั่วโมงเขาจึงตัดสินใจเข้านอน
หัวค่ำ
23. The accused man said in court he wished to withdraw his confession
มีผู้แปลว่า: ชายที่กล่าวหากล่าวในศาลว่าเขาต้องการเลิกคำสารภาพ
ข้อสังเกต: accused เป็น verb ช่องที่ 3 ซึ่งมาจาก passive voice ลดรูป และวางไว้หน้าประธานเพื่อทำหน้าที่ขยายเวลา เวลาแปล จึงควรแปลเหมือน passive voice
ควรแปลว่า: ชายที่ถูกกล่าวหาแถลงต่อศาลว่าเขาต้องการเพิกถอนคำสารภาพ
24. Spoiled by his parents as a child, he grew up to be a discontented young man.
มีผู้แปลว่า: ถูกตามใจจากพ่อแม่มาตั้งแต่เด็ก เขาจึงโตเป็นชายหนุ่มที่ไม่พอใจอะไร
ข้อสังเกต: คล้ายกับข้อ 22 วลีที่ทำหน้าที่เป็น participle phrase ขยายประธานซึ่งตามมา
ควรแปลว่า: เขาถูกพ่อแม่ตามใจมาตั้งแต่เด็ก เมื่อโตขึ้นจึงกลายเป็นชายหนุ่มที่ไม่เคย
พอใจอะไรเลย
25. The exam is going to be difficult.
มีผู้แปลว่า: ข้อสอบกำลังจะยาก
ข้อสังเกต: to be going to ในปริบทนี้มีความหมายเหมือนกับ seems to
ควรแปลว่า: ข้อสอบนี้ท่าทางจะยาก
ตัวอย่างการแปลจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษที่ต้องแก้ไข
1. ที่งานเลี้ยงแห่งหนึ่งฉันได้รับการแนะนำให้รู้จักกับ จินตหรา สุขพัฒน์
มีผู้แปลว่า: At a party, I was suggested Jintahra Sukhaphat.
ข้อสังเกต: ผู้แปลขาดความรู้ในการเลือกใช้คำศัพท์ให้เหมาะกับเนื้อความ
ควรแปลว่า: At a party, I was introduced to Jintahra Sukhaphat.
2. เขาให้แหวนวงสวยแก่ฉันเมื่อวานนี้
มีผู้แปลว่า: He had given me a beautiful ring yesterday.
ข้อสังเกต: ผู้แปลใช้ tense ไม่ถูกต้อง ควรเป็นอดีตกาลธรรมดา
ควรแปลว่า: He gave me a beautiful ring yesterday.
3. บริกร: คุณจะรับอะไรเป็นอาหารเช้าครับ
ลูกค้า: ผมขอเบคอนและไข่ 1 ที่ครับ
มีผู้แปลว่า: What do you want for a breakfast?
I want to have one bacon and egg.
ข้อสังเกต: ผู้แปลขาดความรู้เกี่ยวกับสำนวนที่ใช้ในการสั่งอาหารและใช้ Article ไม่ถูกต้อง
ควรแปลว่า: What would you like for breakfast?
I’d like to have bacon and eggs.
4. ถนนสายนี้ถูกปิดตั้งแต่เมื่อวาน
มีผู้แปลว่า: This street had closed since yesterday.
ข้อสังเกต: ผู้แปลไม่ได้แปลประโยคนี้ให้อยู่ในรูปประโยค passive
ควรแปลว่า: This road has been closed since yesterday.
5. มีการพูดกันว่าเขารับสินบน
มีผู้แปลว่า: It is said that he is corruption.
ข้อสังเกต: ผู้แปลแปลคำว่า “รับสินบน” ไม่ถูกต้อง เข้าใจสับสนว่า “สินบน” หมายถึง corruption
ควรแปลว่า: It is said that he is corrupt.
takes bribes.
6. ฉันชอบเค้กชอกโกเลต
มีผู้แปลว่า: I like cake chocolate.
ข้อสังเกต: ผู้แปลไม่เข้าใจโครงสร้างประโยคภาษาอังกฤษ ซึ่งต้องวางคำขยายไว้หน้านามสำคัญ ในที่นี้นามสำคัญคือคำว่า “เค้ก” ไม่ใช่ “ชอกโกเลต”
ควรแปลว่า: I like chocolate cake.
7. พ่อของเขาไม่ทราบว่าเขาไม่ได้ไปโรงเรียน
มีผู้แปลว่า: His father did not know that he had not been to the school.
ข้อสังเกต: ผู้แปลไม่เข้าใจเรื่องการใช้ Article สำนวน go to school ไม่ใช้ Article ใด ๆ หน้าคำนาม school
ควรแปลว่า: His father had no idea that he did not go to school.
8. การเดินทางโดยเครื่องบินสะดวกดี
มีผู้แปลว่า: Traveling by a plane is comfortable.
ข้อสังเกต: เช่นเดียวกับข้อ 7 ผู้แปลไม่ทราบว่าสำนวนที่เกี่ยวกับการเดินทางทั้งหลาย ไม่ต้องใส่ Article หน้าคำนาม
ควรแปลว่า: Traveling by plane is comfortable.
9. บางทีคุณอาจจะแนะนำทนายดี ๆ ให้ฉันสักคน
มีผู้แปลว่า: Perhaps you could advise me a good lawyer.
ข้อสังเกต: ผู้แปลเลือกใช้คำที่ไม่เหมาะสมกับเนื้อความ “advise” คือ การแนะนำให้ทำสิ่งสิ่งนี้ ซึ่งไม่เหมาะกับปริบทในประโยคนี้
ควรแปลว่า: Perhaps you could recommend me a good lawyer.
10. เลขาเตือนเขาเรื่องการนัดหมายในตอนเย็น
มีผู้แปลว่า: His secretary warned him about his appointment in the evening.
ข้อสังเกต: ผู้แปลเลือกใช้คำที่ไม่เหมาะกับเนื้อความ “warn” คือ เตือนเกี่ยวกับภัย/ อันตราย ซึ่งไม่ถูกต้องตามปริบทนี้
ควรแปลว่า: His secretary reminded him of his appointment in the evening.
11. เธอปฏิเสธที่จะรับเงินเขา
มีผู้แปลว่า: She denied to accept his money.
ข้อสังเกต: ผู้แปลเลือกใช้คำที่ไม่ถูกต้องตามปริบท “deny” คือ การปฏิเสธข้อเท็จจริง
ควรแปลว่า: She refused to accept his money.
12. ชาและกาแฟไม่ดีต่อสุขภาพนัก
มีผู้แปลว่า: The coffee and tea are not quite good.
ข้อสังเกต: coffee และ tea เป็นนามที่นับไม่ได้ ไม่จำเป็นต้องใส่ Article นอกจากนั้น ผู้แปลยังแปลไม่ครบถ้วน
ควรแปลว่า: Coffee and tea are not really good for your health.
13. แม่น้ำเจ้าพระยาใกล้จะเน่าเสีย
มีผู้แปลว่า: Chao Phya river is nearly spoiled.
ข้อสังเกต: แม่น้ำเจ้าพระยาต้องใช้ควบคู่กับ Article “the” นอกจากนั้นคำว่า “เน่าเสีย” นี้ ไม่ตรงกับนัยความหมายของคำว่า “spoiled” ซึ่งหมายถึง “ถูกทำให้เสียคน” หรือ “ตามใจจนเสียคน”
ควรแปลว่า: The Chao Phya river is nearly polluted.
14. กระทะถูกทิ้งไว้ในอ่างล้างชาม
มีผู้แปลว่า: The pan left in the sink.
ข้อสังเกต: ผู้แปลไม่ได้แปลให้เป็นประโยค passive voice
ควรแปลว่า: The pan was left in the sink.
15. วัดนี้สร้างในสมัยต้นรัตนโกสินทร์
มีผู้แปลว่า: This temple built early in the Rattanakosin period.
ข้อสังเกต: เช่นเดียวกับประโยคที่ 14 ผู้แปลไม่ทราบว่าประโยคนี้ คือ ประโยคกรรม ความหมายเป็นกลางซึ่งเมื่อแปลเป็นภาษาอังกฤษต้องใช้ประโยค passive
ควรแปลว่า: This temple was built early in the Rattanakosin period.
16. เขาสนใจการเมืองมาตั้งแต่เขายังเด็ก
มีผู้แปลว่า: He was interested in politics since he was a child.
ข้อสังเกต: ผู้แปลใช้ tense ไม่ถูกต้อง ถ้าใช้ was interested แปลว่า เคยสนใจในอดีต แต่บัดนี้เลิกสนใจแล้ว แต่ในปริบทนี้หมายความว่า เขาสนใจการเมืองมาตั้งแต่เขายังเด็ก และเดี๋ยวนี้ก็ยังสนใจอยู่
ควรแปลว่า: He has been interested in politics since he was a child.
17. ไปเดินเล่นกันเถอะ อากาศดีมาก
มีผู้แปลว่า: Let’s go for a walk; the climate is fine.
ข้อสังเกต: ผู้แปลเลือกใช้คำผิด “climate” คือ สภาพอากาศเฉพาะที่ แต่ในที่นี้พูดถึงสภาพอากาศทั่ว ๆ ไป
ควรแปลว่า: Let’s go for a walk; the weather is fine.
18. เขาไปทำงานแถวตะวันออกกลาง
มีผู้แปลว่า: He has gone to work in Middle East.
ข้อสังเกต: ผู้แปลใช้ Article ไม่ถูกต้อง นามคำว่า “Middle East” ต้องใช้กับ Article “the”
ควรแปลว่า: He has gone to work in the Middle East.
19. ที่อังกฤษวัวจำนวนมากถูกฆ่าเพราะโรควัวบ้า
มีผู้แปลว่า: In English, cows were killed because the mad cow disease.
ข้อสังเกต: อังกฤษในประโยคนี้ คือ ประเทศ English หมายถึง คนหรือภาษา ผู้แปลใช้คำไม่ถูกต้องและใช้คำเชื่อม because ไม่ถูกต้อง because ต้องใช้เชื่อมประโยค ไม่ใช่เชื่อมคำหรือวลี
ควรแปลว่า: In England, many cows were killed because of the mad cow disease.
20. เขาแนะนำให้ฉันรู้จักนายของเขา
มีผู้แปลว่า: He suggested me to know his boss.
ข้อสังเกต: ผู้แปลใช้คำไม่เหมาะกับเนื้อความ แนะนำให้รู้จัก ควรใช้คำว่า “introduce”
ควรแปลว่า: He introduced me to his boss.
21. เขาน่าจะเปลี่ยนใจก่อนจะสายเกินไป
มีผู้แปลว่า: He should to change his mind before it is too late.
ข้อสังเกต: ผู้แปลสับสนระหว่างคำว่า should + verb กับ ought to + verb
ควรแปลว่า: He should change his mind before it is too late.
22. มีอุบัติเหตุรถชนกันที่ตรงนี้เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว
มีผู้แปลว่า: There was a car accident occurred here last week.
ข้อสังเกต: ไม่จำเป็นต้องใช้ สำนวน there was ในการแปลประโยคนี้
ควรแปลว่า: A car accident occurred here last week.
23. ฉันเคยตื่นนอนตอน 6 โมงครึ่ง แต่เดี๋ยวนี้ฉันตื่นสายกว่านั้น
มีผู้แปลว่า: I got up at 6.30 p.m., but now I get up later.
ข้อสังเกต: used to ใช้ในความหมายว่า เคยทำสิ่งนั้นในอดีต (past habit) แต่ปัจจุบันไม่ได้ทำอีกแล้ว
ควรแปลว่า: I used to get up at 6.30 p.m., but now I get up later.
24. พ่อแม่ควรจะเป็นแบบอย่างที่ดีของลูก
มีผู้แปลว่า: Parents are good models for their children.
ข้อสังเกต: ผู้แปลไม่ได้แปลคำว่า “ควรจะ”
ควรแปลว่า: Parents should be good role models for their children.
25. งูหางกระดิ่งจะเตือนเหยื่อก่อนที่มันจะกัด
มีผู้แปลว่า: A snake tells before it bites.
ข้อสังเกต: ผู้แปลใช้คำว่า “tell” ในการแปลว่า เตือน คำว่า “tell” คือ การบอกกล่าวธรรมดา ซึ่งไม่ตรงตามปริบทนี้ ซึ่งหมายถึง เตือน ภัยอันตราย
ควรแปลว่า: A rattlesnake warns its victim before it strikes.